กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการลดปวดข้อด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดปวดข้อด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม

1. นายวิทูรชิตมณี
2. นางรุ่งฤดีนาราษฎร์
3. นางสาวอาทิตยาพิพัฒน์สุริยะ
4. นางสาวเกสรกูลเกื้อ
5. นางสาวสมิตานันหน่อสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม และในพื้นที่ตำบลนาหม่อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อมได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยในการดูแลและรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีแนวโน้มผู้ป่วยที่มารับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 140 ครั้งและในปีงบประมาณ 2567 155 ครั้ง ดังนั้นงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม จึงได้จัดทำโครงการลดปวดข้อด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยการพอกสมุนไพรในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดและฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมให้มีความรู้เรื่องอาการปวดข้อต่างๆ และสามารถพอกสมุนไพรที่ช่วยลดอาการปวดข้อด้วยตนเองได้

ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดข้อลดลง

การทดสอบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม คะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายความรู้เรื่องโรคเข่าเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
บรรยายความรู้เรื่องโรคเข่าเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 ท่าน จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมง ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 70 บาทเป็นเงิน2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.5x2 เมตร เป็นเงิน 360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8160.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตและปฏิบัติการพอกเข่าสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
สาธิตและปฏิบัติการพอกเข่าสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตและปฏิบัติการพอกเข่า
    1. แป้งข้าวเจ้า จำนวน 5 กิโลกรัมๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน200 บาท
    2. ผงไพล จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 300 บาทเป็นเงิน 600 บาท
    3. ผงดองดึง จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 650 บาท เป็นเงิน1,300 บาท
    4. ผลดีปลีจำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 400 บาทเป็นเงิน 800 บาท
    5. ลูกแป้งข้าวหมากจำนวน 30 ลูกๆละ 15 บาท เป็นเงิน 450 บาท
    6. กะละมังสแตนเลสผสมยาสมุนไพร 5 ลุกๆละ 150บาทเป็นเงิน 750 บาท
    7. ถุงมือยาง 1 กล่องๆละ 150 บาทเป็นเงิน 150 บาท
    8. ผ้าก๊อซปิดแผล ขนาด 3x3 นิ้ว 1 กล่องๆละ 70 บาทเป็นเงิน 70 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4320.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามอาการข้อเข่าเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามอาการข้อเข่าเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแบบทดสอบความเจ็บปวด ก่อน-หลัง จำนวน 60 ชุดๆละ 1 บาท เป็นเงิน 60 บาท
  • ค่าแผ่นพับความรู้สมุนไพร 30 ฉบับ ๆ ละ 5 บาท  เป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
210.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,690.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเข่าลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ
2. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องอาการปวดข้อต่างๆและสามารถพอกสมุนไพรลดอาการปวดข้อได้ด้วยตนเอง
3. สามารถลดการใช้ยาสมุนไพรแผนปัจจุบันและสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลรักษาอาการปวดข้อเข่า


>