2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัญหาการจมน้ำ เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก ข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในแต่ละปีทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 372,000 คน และเป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 145,739 คน นับว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สำหรับประเทศไทยปัญหาการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี มาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2549 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากถึงปีละประมาณ 1,500 คน ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรถึง 2 เท่า และหลังจากประเทศไทยได้ดำเนินการป้องกันการจมน้ำ เมื่อปลายปี พ.ศ.2549 พบว่า เด็กไทยจมน้ำและเสียชีวิตลดลงร้อยละ 64.46 และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2554-2563) สูญเสียเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการจมน้ำไปแล้ว 7,794 คน เฉลี่ยปีละ 779 คน หรือวันละ 2 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมา คือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ โดยเด็กผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเด็กผู้หญิง 2 เท่า และช่วงเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือเดือนเมษายน รองลงมา คือ เดือนมีนาคมและเดือนพฤษภาคม ตามลำดับ สำหรับแหล่งน้ำที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติและบ่อขุดเพื่อการเกษตร ร้อยละ 33.2 รองลงมา คือ สระว่ายน้ำ ร้อยละ 5.9 และอ่างอาบน้ำ ร้อยละ 4.7 ตามลำดับ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการจมน้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยที่สำคัญ คือ 1) ปัจจัยด้านบุคคล ซึ่งมีความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พัฒนาการ พฤติกรรม และโรคประจำตัวของเด็กแต่ละคน และ 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จะแบ่งออกเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การมีแหล่งน้ำใกล้ตัวเด็ก การไม่มีรั้วกั้นรอบแหล่งน้ำ และการไม่มีคอกกั้นเด็ก เป็นต้น สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การขาดผู้ดูแลหลักในครอบครัวที่พ่อแม่ต้องทำงาน เด็ก/ผู้ดูแล/ชุมชน ไม่รู้สึกว่าเป็นความเสี่ยงต่อเด็ก ผู้ช่วยเหลือไม่มีความรู้ในการกู้ชีพหรือการปฐมพยาบาลผิดวิธี และสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น ดั้งนั้น การป้องกันการจมน้ำจึงต้องครอบคลุมปัจจัยเสี่ยง ทั้งมาตรการด้านความรู้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านนโยบาย/กฎหมาย/กฎระเบียบ และมาตรการด้านเยียวยาความเสียหาย
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก เห็นถึงความสำคัญของปัญหาเด็กจมน้ำ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำว่า 15 ปี เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ วิธีช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้น ตลอดจนการเพิ่มมาตรการป้องกันการจมน้ำและการดูแลความปลอดภัยตามแหล่งน้ำเสี่ยง และเร่งสร้างทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้นและสามารถช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้
3.มีทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำที่มีความพร้อมในการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่