แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นายสมบัติ ช่อคง 2.นางนี เลี่ยนกัตวา 3.นางดารา ทองอินทร์ 4.นายวิเชียร จงรัตน์ 5.นางทัศนีย์ ดำชุม
ปัญหาการจมน้ำ เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก ข้อมูลรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในแต่ละปีทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 372,000 คน และเป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 145,739 คน นับว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สำหรับประเทศไทยปัญหาการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี มาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2549 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากถึงปีละประมาณ 1,500 คน ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรถึง 2 เท่า และหลังจากประเทศไทยได้ดำเนินการป้องกันการจมน้ำ เมื่อปลายปี พ.ศ.2549 พบว่า เด็กไทยจมน้ำและเสียชีวิตลดลงร้อยละ 64.46 และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2554-2563) สูญเสียเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการจมน้ำไปแล้ว 7,794 คน เฉลี่ยปีละ 779 คน หรือวันละ 2 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมา คือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ โดยเด็กผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเด็กผู้หญิง 2 เท่า และช่วงเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือเดือนเมษายน รองลงมา คือ เดือนมีนาคมและเดือนพฤษภาคม ตามลำดับ สำหรับแหล่งน้ำที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติและบ่อขุดเพื่อการเกษตร ร้อยละ 33.2 รองลงมา คือ สระว่ายน้ำ ร้อยละ 5.9 และอ่างอาบน้ำ ร้อยละ 4.7 ตามลำดับ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการจมน้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยที่สำคัญ คือ 1) ปัจจัยด้านบุคคล ซึ่งมีความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พัฒนาการ พฤติกรรม และโรคประจำตัวของเด็กแต่ละคน และ 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จะแบ่งออกเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การมีแหล่งน้ำใกล้ตัวเด็ก การไม่มีรั้วกั้นรอบแหล่งน้ำ และการไม่มีคอกกั้นเด็ก เป็นต้น สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การขาดผู้ดูแลหลักในครอบครัวที่พ่อแม่ต้องทำงาน เด็ก/ผู้ดูแล/ชุมชน ไม่รู้สึกว่าเป็นความเสี่ยงต่อเด็ก ผู้ช่วยเหลือไม่มีความรู้ในการกู้ชีพหรือการปฐมพยาบาลผิดวิธี และสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น ดั้งนั้น การป้องกันการจมน้ำจึงต้องครอบคลุมปัจจัยเสี่ยง ทั้งมาตรการด้านความรู้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านนโยบาย/กฎหมาย/กฎระเบียบ และมาตรการด้านเยียวยาความเสียหาย
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก เห็นถึงความสำคัญของปัญหาเด็กจมน้ำ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำว่า 15 ปี เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ วิธีช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้น ตลอดจนการเพิ่มมาตรการป้องกันการจมน้ำและการดูแลความปลอดภัยตามแหล่งน้ำเสี่ยง และเร่งสร้างทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ต่อไป
-
1. 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ90ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. 2. เพื่อส่งเสริมความรู้วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้นตัวชี้วัด : .กลุ่มเป้าหมายมีความรู้วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้นและสามารถช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้ ร้อยละ90ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 90.00
-
3. 3. เพื่อสร้างทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ตัวชี้วัด : มีทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำที่มีความพร้อมในการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ ร้อยละ90ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
- 1. ให้ความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้นรายละเอียด
ให้ความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้น - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 บาทx 160 คน x 1 มื้อ) เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ+ป้ายรณรงค์ให้ความรู้วิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ จำนวน 3 ผืน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวิทยากร 2วัน วันละ 4 ชม. ชม.ละ 600 x 8 เป็นเงิน 4,800 บาท - การป้องกันการจมน้ำจำนวน 2 ป้าย x 150 เป็นเงิน 300 บาท - การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล เด็กจมน้ำที่ถูกวิธี 2 ป้าย x 150 เป็นเงิน 300 บาทงบประมาณ 11,200.00 บาท - 2. - จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ความรู้ เช่น การป้องกันการจมน้ำ การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล เด็กจมน้ำที่ถูกวิธี เป็นต้นรายละเอียด
- บอร์ดประชาสัมพันธ์ความรู้ เช่น การป้องกันการจมน้ำ การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล เด็กจมน้ำที่ถูกวิธี เป็นต้น
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงและติดป้ายเตือนตามแหล่งน้ำเสี่ยง พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำรายละเอียด
สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงและติดป้ายเตือนตามแหล่งน้ำเสี่ยง พร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ -ป้ายเตือนตามแหล่งน้ำเสี่ยง จำนวน 5 ป้าย ป้ายละ300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำแกลลอน + เชือก+ขวดน้ำ+กระสอบ 500 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้งบประมาณ 2,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงเรียนบ้านทุ่งคลองควาย และโรงเรียนบ้านยางขาคีม
รวมงบประมาณโครงการ 13,200.00 บาท
1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้นและสามารถช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้
3.มีทีมผู้ก่อการดีป้องกันเด็กจมน้ำที่มีความพร้อมในการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี รหัส กปท. L3341
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................