กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนด

ตำบลแหลมโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

0.36

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ตำบลแหลมโตนด เป็นพื้นที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี 2567มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน13ราย (369.32 ต่อแสนประชากร)ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีการระบาดทั้งปี และระบาดมากในช่วงฤดูฝนการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนดจึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและภัยสุขภาพในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRT ระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรค

ทีม CDCU และทีม SRRT ระดับตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะ

1.00
2 เพื่อให้มีแผนปฏิบัติการในการป้องกันและควบคุมโรค

มีแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อให้ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก

1.ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก 2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกินเกณฑ์ (ค่า HI น้อยกว่า 5ค่า CI = 0)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,520
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/05/2025

กำหนดเสร็จ : 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRTระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและสอบสวนโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRTระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและสอบสวนโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRT  ระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและสอบสวนโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2568 ถึง 12 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมทีม CDCU และทีม SRRT  ระดับตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1
1.ทรายอะเบท จำนวน 8 ถังๆละ 3,000  บาท เป็นเงิน  24,000  บาท 2.ค่าสเปรย์กันยุง จำนวน 200 กระป๋องๆละ 78 บาท  เป็นเงิน  15,600  บาท 3 ยาทากันยุง จำนวน 200 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 4.ยาพ่นละอองฝอย 2 กระป๋องๆละ 2,800 บาท  เป็นเงิน 5,600 บาท
5. ค่าจ้างถ่ายเอกสาร แบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1,500 แผ่นๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47550.00

กิจกรรมที่ 4 การประเมิน/สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยงสูง/พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
การประเมิน/สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยงสูง/พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยงสูง/พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 22 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่เสี่ยงสูง/พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกสุ่มประเมิน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก ในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก
๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค


>