โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3326-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนด |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 47,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนราวุฒิ แก้วหนูนวล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 3000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 0.36 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลแหลมโตนด เป็นพื้นที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี 2567มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน13ราย (369.32 ต่อแสนประชากร)ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีการระบาดทั้งปี และระบาดมากในช่วงฤดูฝนการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนดจึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและภัยสุขภาพในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRT ระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรค ทีม CDCU และทีม SRRT ระดับตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะ |
1.00 | |
2 | เพื่อให้มีแผนปฏิบัติการในการป้องกันและควบคุมโรค มีแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก 1.ครัวเรือนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก 2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกินเกณฑ์ (ค่า HI น้อยกว่า 5ค่า CI = 0) |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 47,550.00 | 0 | 0.00 | 47,550.00 | |
1 - 30 พ.ค. 68 | จัดทำแผนปฏิบัติการระดับตำบลในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 | ควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1 | 0 | 47,550.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 22 ส.ค. 68 | การประเมิน/สุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยงสูง/พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก | 0 | 0.00 | - | - | ||
12 พ.ค. 68 | ประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะทีม CDCU และทีม SRRTระดับตำบล ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและสอบสวนโรค | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 47,550.00 | 0 | 0.00 | 47,550.00 |
๑. ลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ๓. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก ในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ๔. ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมและดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 00:00 น.