กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า ตำบลบ้านควน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านควน

1. นางสาวนูรอัยชะฮ์ หมาดตา ตำแหน่ง คณะบริหาร เบอร์โทรศัพท์ 0823107490 (หลัก)
2. นายปัณณทัต ยะระ ตำแหน่ง คณะบริหาร เบอร์โทรศัพท์ 0980029029
3. นางสาวนัซนีซ ตอหิรัญ ตำแหน่ง คณะบริหาร เบอร์โทรศัพท์ 0995591606
4. นางสาวจัสมิน โดยมังสา ตำแหน่ง คณะบริหาร เบอร์โทรศัพท์ 0958357919
5. นางสาวฟาตีมะห์ ตาหมาด ตำแหน่ง คณะบริหาร เบอร์โทรศัพท์ 0634342108
นางสาวอลิษษา องศารา ตำแหน่งผู้ประสานงานเครือข่ายสุขภาพเยาวชน (ขสย.) จังหวัดสตูล พี่เลี้ยงและที่ปรึกษาโครงการ

ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

8.00

สถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง แม้จะมีกฎหมายระบุชัดเจนถึงการห้ามขาย ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการขายอย่างแพร่หลาย และมีการเข้าถึงสถานศึกษา พบเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มีการซื้อขายในโรงเรียน ครูบางคนยังไม่รู้จักและไม่รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ปกครองบางคนยังเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย จึงไม่ห้ามให้เด็กสูบ อีกทั้งผู้ขายหรือผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ได้ปรับรูปแบบ ปรับกลิ่นให้เข้ากับเด็ก ๆ และวัยรุ่น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายขนม ของเล่น อุปกรณ์การเรียน มีสีสันสดใส แต่แฝงไปด้วยอันตรายร้ายแรง
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 30.5 เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าได้ระบาดมากขึ้นในเด็กอายุที่ต่ำลง ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจาก ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน พบว่าข้อมูลจากผลสำรวจในปี 2564-2565 บุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 80,000 คน เพิ่มมา 700,0000-800,000 คน ในกลุ่มอายุ 18-30 ปี
โดยผลการสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คน ในโรงเรียนทั่วประเทศ พบว่าปี 2565 เด็กไทยอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 17.6% เพิ่มขึ้น 5.3 เท่าจากปี 2558 ที่มีเพียง 3.3 % และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งกลยุทธ์ส่งเสริมการขายผ่านสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนถูกหลอกลวงได้ง่ายขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของเด็กและเยาวชนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยงานวิจัยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 6,045 ราย ในปี 2565 พบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มลองสูบบุหรี่ธรรมดา เพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นการย้ำว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาและสารเสพติดชนิดอื่น ๆ
ทั้งนี้ ในแง่ของนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ 2.สร้างการรับรู้ภยันตรายและการเสพติดของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน และสาธารณชน 3.เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 4.พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกัน ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 5.ยืนยันนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า
สำหรับในเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส) มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอยู่ที่ร้อยละ 8% ซึ่งน้อยกว่าภาพรวมของประเทศที่อยู่ที่ 9.1% โดยข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา (สคร.12) พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมและเทียบเท่าในเขตพื้นที่ภาคใต้จำนวน 5,813 คน พบว่าร้อยละ 14.5 ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยพบว่านักเรียนชายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 19.6 มากกว่านักเรียนหญิงที่ใช้เพียงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า
ในการนี้ สภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านควน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า ตำบลบ้านควน เพื่อแก้ไขปัญหานำไปสู่การปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

8.00 7.00
2 สร้างความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้และสื่อสารรณรงค์

ร้อยละ 70 ของเยาวชนและผู้ปกครองที่เข้ารับอบรมและการสื่อสารรณรงค์ มีความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมทั้งสามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจได้

40.00 70.00
3 สร้างแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่และเยาวชนนักสื่อสารสู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่

ร้อยละ 70 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสาร สามารถเป็นนักสื่อสารสู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่

20.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน / วางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน / วางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน / วางแผนการดำเนินงาน ให้แกนนำสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านควนทราบ
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านควน จำนวน 20 คน ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 เก็บข้อมูล/คัดกรองกลุ่มตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ / สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ

ชื่อกิจกรรม
เก็บข้อมูล/คัดกรองกลุ่มตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ / สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บข้อมูล/คัดกรองกลุ่มตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ / สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ
- ผ่านการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม
- ผ่านการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) หรือกระบวนการ Snowball
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมชี้แจงการเก็บแบบสอบถาม จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าตอบแทนเก็บข้อมูล จำนวน 5 ทีม ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
3. ค่าเอกสารแบบสอบถาม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเก็บข้อมูล/คัดกรองกลุ่มตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีอบรมให้ความรู้/สร้างความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า

ชื่อกิจกรรม
เวทีอบรมให้ความรู้/สร้างความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เวทีอบรมให้ความรู้/สร้างความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
- กลุ่มเด็กและเยาวชน
- กลุ่มผู้ปกครอง
กำหนดการจัดกิจกรรมเวทีอบรมให้ความรู้/สร้างความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.30 น. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
09.30 – 10.00 น. พิธีเปิดกิจกรรม
10.00 – 12.00 น. ให้ความรู้ในหัวข้อ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร ทำไมถึงเป็นปัญหา และส่งต่อร่างกายอย่างไร”
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน/ประกอบศาสนกิจ
13.00 -14.00 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์บุหรี่ไฟฟ้า ภัยใกล้ตัว
14.00-15.30 น. นำเสนอและสรุปการดำเนินกิจกรรม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00-10.15 น. และ 14.30-14.45 น.

งบประมาณ สำหรับอบรมกลุ่มเด็กและเยาวชน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
4. ค่าอุปกรณ์กิจกรรม เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

งบประมาณ สำหรับอบรมกลุ่มผู้ปกครอง
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
รวมเป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน มีความรู้ ความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
2.ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน มีความรู้ ความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อรณรงค์และสื่อสารปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อรณรงค์และสื่อสารปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อรณรงค์และสื่อสารปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
- ผลิตสื่อ/ประกวด
- สื่อสาร/รณรงค์
กำหนดการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อรณรงค์และสื่อสารปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.30 น. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
09.30 – 10.00 น. กิจกรรม “เข้าใจบุหรี่ไฟฟ้าและแนวทางการรณรงค์”
10.00 – 12.00 น. ให้ความรู้ในหัวข้อ “แนวคิดการสื่อสาร การผลิตสื่อรณรงค์ และการ Workshop การผลิตสื่อรณรงค์”
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน/ประกอบศาสนกิจ
13.00 -15.00 น. กิจกรรมผลิตสื่อรณรงค์
15.00-15.30 น. สรุปการดำเนินกิจกรรม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00-10.15 น. และ 14.30-14.45 น.

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
4. ค่าอุปกรณ์กิจกรรม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการผลิตสื่อรณรงค์บุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 5 สานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

ชื่อกิจกรรม
สานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
- สานพลังความร่วมมือจัดทำมาตรการเชิงนโยบายฯ ระดับพื้นที่
- สานเสวนาสร้างสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ไฟฟ้า/ส่งต่อสังคมสีขาวให้เด็กและเยาวชน

งบประมาณ กิจกรรมสานพลังความร่วมมือจัดทำมาตรการเชิงนโยบายฯ ระดับพื้นที่
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
รวมเป็นเงิน 900 บาท

กิจกรรมสานเสวนาสร้างสุขภาวะ/ส่งต่อสังคมสีขาวให้เยาวชน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 คนๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
3. ค่าจัดทำเกียรติบัตร จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าจัดทำไวนิลกิจกรรม เป็นเงิน 1,000 บาท
5. ค่าจัดทำโฟมบอร์ดสื่อรณรงค์ จำนวน 10 แผ่นๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 9,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการเชิงนโยบายตามบริบทของพื้นที่ เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ไฟฟ้า  ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนชุมชนและสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10150.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุมสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ชัดเจนขึ้น
2.ได้ชุดกระบวนการทำงานและแนวทางการแก้ปัญหาที่ออกแบบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ที่สามารถนำไปใช้ต่อได้


>