กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะพานเคียน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

เขตพื้นที่หมู่ที่ 1 2 5 8 9 และ 10 จำนวน 719 หลังคาเรือน วัด โรงเรียน ตำบลวังมะปรางอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยง

 

1.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิด Generation ที่ 2
  1. ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ 2
1.00 1.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2563-2567)
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน
    5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ 2563-2567) ร้อยละ 20
1.00 1.00
3 3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,950
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสาร ความเสี่ยง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสาร ความเสี่ยง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสาร ความเสี่ยง 1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบในโรงเรียน  วัด  สถานที่ราชการ  หมู่บ้าน 2.ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3.ให้ความรู้พร้อมกันสื่อสารความ เสี่ยงผ่านแกนนำอสม.ที่ประชุมหมู่ บ้าน
4.การประชุมประชาคมภายในหมู่ บ้านเมื่อเกิดกรณีการระบาดของโรค 5. ประชุม War room
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านสะพานเคียน 3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้ เลือดออกกรณีมีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังใน ชุมชนภายใน  24 ชั่วโมง และลงพื้นที่พ่นหมอกควันรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย  100 เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้งโดยมีระยะห่างกัน 7 วัน และแจกทรายอะเบท  และการพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ โรงเรียน วัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในช่วงก่อนและหลังฤดูกาลระบาด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
  2. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 3.ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
2. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน


>