2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคติดต่อนำโดยแมลงยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ โดยเฉพาะโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อย่างโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยยังพบคงการแพร่ระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค รวมถึงในพื้นที่ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ตำบลพิมาน ซึ่งเป็นตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลเมืองสตูล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำขังหลายแห่ง ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและพฤติกรรมของประชากรที่ยังขาดความตระหนักในการป้องกันโรคฯอย่างถูกต้อง ส่งผลให้ยังคงพบประชาชนที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวและจะมีเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน จากข้อมูลของงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูลได้รายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2567 พบมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จนถึงวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2567 จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 63.4 /แสนประชากร แม้จำนวนผู้ป่วยจะลดลงจาก ปี 2566 ซึ่งเฉพาะเดือนมากราคม - พฤษภาคม 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 24ราย (อัตราป่วย 80.2 ต่อประชากรแสนคน) แล้ว (ที่มา : งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1-22 พฤษภาคม 2566) และคงมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยอีกในปี 2568 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้ถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างต่อเนื่อง โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ควบคู่ไปกับการความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้องแก่ประชาชน รวมถึงการจัดหาเวชภัณฑ์สำหรับดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นจากยุงลายและแมลนำโรคอื่นๆ อาทิเช่น ยาทากันยุง ยาจุดกันยุง เป็นต้น และด้วย เทศบาลเมืองสตูล มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) เทศบาลเมืองสตูลตระหนักถึงอันตรายของการแพร่ระบาดและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคนั้น อีกทั้งได้ให้ความสำคัญของการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เทศบาลเมืองสตูล โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริการงานสาธารณสุข งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อดำเนินการป้องกัน ควบคุม และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพแมากขึ้น คลอบคลุมทุกพื้นที่รับผิดชอบและทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด เพื่อให้สถานศึกษาและชุมชน ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 31/10/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง
2.ระดับความชุกแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายในชุมชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง
3.ประชาชนมีเวชภัณฑ์สำหรับดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นจากยุงลายและแมลนำโรคอื่นๆ
4.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้อง