กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล
กลุ่มคน
1.นายสมศักดิ์ เหมรา
2.นางสาวนิสากร บุญช่วย
3.นางซาฮีดา สะกานดา (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
3.
หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยแมลงยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ โดยเฉพาะโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อย่างโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยยังพบคงการแพร่ระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค รวมถึงในพื้นที่ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ตำบลพิมาน ซึ่งเป็นตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลเมืองสตูล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำขังหลายแห่ง ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและพฤติกรรมของประชากรที่ยังขาดความตระหนักในการป้องกันโรคฯอย่างถูกต้อง ส่งผลให้ยังคงพบประชาชนที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวและจะมีเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน จากข้อมูลของงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูลได้รายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี2567 พบมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จนถึงวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2567 จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 63.4 /แสนประชากร แม้จำนวนผู้ป่วยจะลดลงจาก ปี 2566 ซึ่งเฉพาะเดือนมากราคม - พฤษภาคม 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 24ราย (อัตราป่วย 80.2 ต่อประชากรแสนคน) แล้ว (ที่มา : งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1-22 พฤษภาคม 2566) และคงมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยอีกในปี 2568 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้ถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างต่อเนื่อง โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ควบคู่ไปกับการความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้องแก่ประชาชน รวมถึงการจัดหาเวชภัณฑ์สำหรับดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นจากยุงลายและแมลนำโรคอื่นๆ อาทิเช่น ยาทากันยุง ยาจุดกันยุง เป็นต้น และด้วย เทศบาลเมืองสตูล มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) เทศบาลเมืองสตูลตระหนักถึงอันตรายของการแพร่ระบาดและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคนั้น อีกทั้งได้ให้ความสำคัญของการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เทศบาลเมืองสตูล โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริการงานสาธารณสุข งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อดำเนินการป้องกัน ควบคุม และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพแมากขึ้น คลอบคลุมทุกพื้นที่รับผิดชอบและทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด เพื่อให้สถานศึกษาและชุมชน ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : สถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง กรณี โรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลงจากปี่ที่แล้ว ปี 2567 (กล่าวคือ ปี2567 มีอัตราการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง กรณี โรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อยู่ที่ 1.73 ต่อแสนประชากร
    ขนาดปัญหา 1.73 เป้าหมาย 1.00
  • 2. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ในการป้องกันตนเองให้แก่ประชาชน กรณีพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของประชาชนพื้นที่เสี่ยงการระบาดมีเวชภัณฑ์สำหรับดูแลและป้องกันตัวเองเบื้องต้นจากด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ร้องละ100 ของประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้องมากขึ้น
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 100.00
  • 4. เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะของประชาชน
    ตัวชี้วัด : อัตราการผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลงจากปี่ที่แล้ว ปี 2567 (กล่าวคือ ปี2567 โดยในปีนี้พบมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จนถึงวันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2567 จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 63.4 /แสนประชากร
    ขนาดปัญหา 63.40 เป้าหมาย 50.00
  • 5. เพื่อป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : ไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในสถานศึกษาและชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล
    รายละเอียด

    ลงพื้นที่รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในสถานศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 11 แห่ง ก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงให้กับนักเรียนและบุคลากรของสถานศึกษา รวมถึงชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 20 แห่ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในช่วงฤดูฝน
    งบประมาณ
    1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
    2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอสม.หรือกรรมการชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นหมอกควันในสถานศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 11 แห่ง
    ทั้งหมด 12 คนๆ ละ 50.- (จำนวน 6 วัน) เป็นเงิน 3,600 บาท
    3. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอสม.หรือกรรมการชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นหมอกควันในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 20 แห่ง ทั้งหมด 20 คนๆ ละ 50 บาท
    (10 วัน) เป็นเงิน 10,000 บาท
    4. ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 3D สำหรับสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ (อสม.หรือกรรมการชุมชน) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 กล่องๆ ละ 130 บาท (กล่องละ 50 ชิ้น) เป็นเงิน 650 บาท

    งบประมาณ 14,700.00 บาท
  • 2. กิจกรรมรู้เท่าทัน ป้องกันได้ ปลอดภัยจากแมลงนำโรค
    รายละเอียด

    รูปแบบการดำเนินงาน
    1) ผลิตสื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ คู่มือ สปอตให้ความรู้
    2) จัดเตรียมเวชภัณฑ์สำหรับป้องกันตนเองให้แก่ประชาชนในพื้นที่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก (แจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาดของโรค หรือบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน)
    3) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
    งบประมาณ
    1. ค่าจัดทำคู่มือการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้อง จำนวน 100 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    2. ค่าจ้างผลิตสปอตประชาสัมพันธ์โรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 2 ชุดๆละ 2,000 บาท
    3. ค่าเวชภัณฑ์ป้องกันตนเองของประชาชนจากยุงลายและแมลงนำโรคอื่นๆ ได้แก่
    3.1 โลชันทากันยุงชนิดซอง ขนาด 8 มล. จำนวน 2 ลังๆ ละ 2,800.- (ลังละ 576 ซอง) เป็นเงิน 5,600 บาท
    3.2 ยาจุดกันยุงชนิดควันน้อยและไร้กลิ่น ขนาด 15กรัม จำนวน 2 ลังๆ ละ 1,700.- (ลังละ 60 กล่องๆ ละ 10 ชิ้น/ขด) เป็นเงิน 3,400 บาท
    3.3 ถุงซิปล็อคแบบใส ขนาด 30 x 45 เซนติเมตร จำนวน 5 แพ็คละ 150 บาท (แพ็คละ 43 ใบ) เป็นเงิน 750 บาท
    4. ค่าเข้าเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการฯ จำนวน 2 เล่มๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 13,250.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 21110 คน

รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล (พื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล)

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 27,950.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง 2.ระดับความชุกแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายในชุมชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง 3.ประชาชนมีเวชภัณฑ์สำหรับดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นจากยุงลายและแมลนำโรคอื่นๆ 4.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ถูกต้อง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 27,950.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................