2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2566 พบว่า ไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ จำนวน 13,064,929 คน คิดเป็น 20.17% ของประชากรรวม มีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 8,901,145 คน คิดเป็น 14% ของประชากรรวม เมื่อแยกรายภาค ภาคเหนือมีประชากรสูงวัย 2,112,408 คน คิดเป็น 16.17% ของประชากรรวม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน 4,131,668 คนคิดเป็น 31.62% ของประชากรรวม ภาคกลาง 5,201,324 คนคิดเป็น 39.81% ของประชากรรวม และภาคใต้ 1,619,529 คนคิดเป็น 12.40% ของประชากรรวม ปี 2565 จังหวัดพัทลุง มีประชากรทั้งหมด 522,080 คน มีจำนวนผู้สูงอายุ 105,135 คน ร้อยละผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไป 20.14 เมื่อถึงวัยสูงอายุสภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการปรับตัว และที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้นสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องการดูแลสุขภาพในเรื่องของโรคเรื้อรังได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม อาการปวดเมื่อยต่างๆ การขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง การดูแลสุขภาพจิต และมีปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้เลี้ยงดูบุตรหลานตามลำพัง ผู้สูงอายุบางรายอาจเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้ ผู้สูงอายุจึงถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ผู้สูงอายุควรมีการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ การนำหลักธรรมของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดกรองเบื้องต้น และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
จากสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านบางตาล มีประชากรทั้งหมด 1,868 คน มีผู้สูงอายุทั้งหมด 360 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หมู่ที่ 3 บ้านท่าเนียน มีประชากรทั้งหมด 345 คน มีผู้สูงอายุทั้งหมด 90 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่หมู่ 3 บ้านท่าเนียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของประชาชนเมื่อต้องเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จึง ได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงวัยอย่างมีสุข หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะนางคำอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปี 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 13/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงวัยอย่างมีสุข
2. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจจากการได้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงวัยอย่างมีสุข
3. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น หลังจากได้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงวัยอย่างมีสุข