กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะเครียะ

นางสาวอาภรณ์ ไพศาล
นางเสาวณีย์ ห้องชุ
นางอำนวย เซ่งเอียง
นายวินัยชูเปีย
นายประมวญช่วยแท่น
นางสาลี ชูบัวทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเครียะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก เป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตตั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่
สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ผู้สูสูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชนให้แก่สังคม และมีความสุขในนั้นปลายของ
ปัจจุบันสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ผู้สูงอายุจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตน ให้เป็นผู้สูงอายุที่ทันต่อเหตุการณ์
ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถพึงพาตนเองและช่วยเหลือสังคมได้ การรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ในรูปแบบของชมรมเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้สมาชิกได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และชุมชนท้องถิ่นการสำรวจผู้สูงอายุในเขต ตำบลตะเครียะ ในปีงบประมาณ 2568 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 929 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.85 ของประชากร เป็นผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 859 ราย ติดบ้าน 45 ราย ติดเตียง 25 รายเป็นผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคสมองและหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภค และด้านอารมณ์ ให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยต้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจ น้อยใจ เสียใจ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวและการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุด้วยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้เห็นถึงปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน และแนวทางในการแก้ไข มีความประสงค์จะจัดทำโครงการสูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ปิงบประมาณ 2568เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้สงอายให้มีความรู้ ทักษะ ในการดำเนินชีวิต ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพและช่วยเหลือตนเองได้ ร้อยละ 80

0.00
2 .เพื่อให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน อย่างน้อยปีละครั้ง ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายชมรมผู้สายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อง

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชมรมอย่างน้อยเดือนละครั้ง ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน แบ่งเป็น 5 รุ่น ๆละ 30 คน 2. .ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าอบรมทุกคนพร้อมกับประเมินผล 3. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 4. สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนอย่างต่อเนื่อ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน แบ่งเป็น 5 รุ่น ๆละ 30 คน 2. .ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าอบรมทุกคนพร้อมกับประเมินผล 3. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 4. สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนอย่างต่อเนื่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง 30 บาท 2 มื้อx150 คน เป็นเงิน 9000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x150 คนเป็นเงิน 9000 บาท 3. คู่มือดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 150 เล่ม เล่มละ 65 บาท เป็นเงิน 9750 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากรวันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 5 วันเป็นเงิน 15000 บาท รวมเป็นเงิน 42750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สามารถดูแลตนเองได้
2. ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ เกิดการแลกเปลี่ยบนความรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวอบอุ่น
3. เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง


>