กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะเครียะ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 42,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภรณ์ ไพศาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก เป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตตั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่ สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ผู้สูสูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชนให้แก่สังคม และมีความสุขในนั้นปลายของ ปัจจุบันสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ผู้สูงอายุจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตน ให้เป็นผู้สูงอายุที่ทันต่อเหตุการณ์ ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถพึงพาตนเองและช่วยเหลือสังคมได้ การรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ในรูปแบบของชมรมเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้สมาชิกได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และชุมชนท้องถิ่นการสำรวจผู้สูงอายุในเขต ตำบลตะเครียะ ในปีงบประมาณ 2568 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 929 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.85 ของประชากร เป็นผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 859 ราย ติดบ้าน 45 ราย ติดเตียง 25 รายเป็นผู้สูงอายุในส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกายเช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคสมองและหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภค และด้านอารมณ์ ให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยต้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจ น้อยใจ เสียใจ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวและการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุด้วยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้เห็นถึงปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน และแนวทางในการแก้ไข มีความประสงค์จะจัดทำโครงการสูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ปิงบประมาณ 2568เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้สงอายให้มีความรู้ ทักษะ ในการดำเนินชีวิต ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพและช่วยเหลือตนเองได้ ร้อยละ 80

0.00
2 .เพื่อให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน อย่างน้อยปีละครั้ง ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายชมรมผู้สายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อง

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชมรมอย่างน้อยเดือนละครั้ง ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 1.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน แบ่งเป็น 5 รุ่น ๆละ 30 คน 2. .ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุที่เข้าอบรมทุกคนพร้อมกับประเมินผล 3. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 4. สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนอย่างต่อเนื่อ 0 42,750.00 -
รวม 0 42,750.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สามารถดูแลตนเองได้
  2. ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ เกิดการแลกเปลี่ยบนความรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุและการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวอบอุ่น
  3. เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 11:24 น.