กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตและดูแลพฤติกรรมเพื่อความสุขในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงเรียนบ้านเปาะเจ๊ะเต็ง

โรงเรียนบ้านเปาะเจ๊ะเต็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การส่งเสริมให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันทางใจที่ดีรองรับสังคมออนไลน์

 

80.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

 

2.00
3 ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

 

2.00

ในปัจจุบันสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ และผลการเรียนของนักเรียนจำนวนไม่น้อย นักเรียนบางคนอาจมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ขาดวินัย ไม่เคารพกฎระเบียบของโรงเรียน หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนอาจมีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือปัญหาภายในครอบครัวที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และบางคนอาจประสบปัญหาทางการเรียน เช่น คะแนนต่ำ ขาดความสนใจในการเรียน หรือมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน
โรงเรียนบ้านเปาะเจ๊ะเต็งตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือนักเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถพัฒนาและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งในด้านพฤติกรรม อารมณ์ และการเรียน การดำเนินโครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง โดยเน้นกระบวนการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach) ผ่านการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต

2.00 3.00
2 เพื่อลดภาวะภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตายเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)  ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

2.00 1.00

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเอง
2. เพื่อให้เกิดการบูรณาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตกลุ่มวัยเรียนในโรงเรียน
3. เพื่อให้เด็กกลุ่มวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ ในโรงเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสุภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตที่อาจจะเกิดขึ้นได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 148
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลพฤติกรรมเพื่อความสุขในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลพฤติกรรมเพื่อความสุขในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การดูแลพฤติกรรมเพื่อความสุขในโรงเรียนให้แก่นักเรียน จำนวน 148 คน งบประมาณ 25,000 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 148 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 8,880 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 148 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 8,880 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 เป็นเงิน 3,600บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าเอกสารที่ใช้ในกิจกรรมตามโครงการ เป็นเงิน 1,640 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเอง
  2. เพื่อเกิดการบูรณาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตกลุ่มวัยเรียนในโรงเรียน
  3. เพื่อให้เด็กกลุ่มวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ ในโรงเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสุภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้และทักษะในการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเอง
2. เกิดการบูรณาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตกลุ่มวัยเรียนในโรงเรียน
3. เด็กกลุ่มวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ ในโรงเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสุภาพจิตและป้องกันปัญหาสุภาพจิตที่อาจจะเกิดขึ้นได้


>