กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

สภาเด็กและเยาวชนตำบลควนโดน

1นายอนุวัต เพชรยก
2. นางสาวอัลญาดายาอีด
3. นางสาวณัฐณิชาเทศอาเส็น
4. นางสาวอภิญญานำวายกอ
5. นางสาวมัยมูน๊ะหลังยาหน่าย

อบต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยกําลังประสบปัญหาด้านสุขภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจาก การขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทยเพราะการพัฒนาประเทศต้อง เริ่มที่ตัวบุคคลให้มีคุณภาพการพัฒนา ด้านสุขภาพอนามัยก็เป็นส่วนสำคัญด้านหนึ่งที่จะต้องรณรงค์ส่งเสริมเพื่อให้ประชากรเด็กและ เยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมบูรณ์มีศักยภาพที่จะพัฒนาประเทศ การที่จะเป็นคนมีสุขภาพดีนั้นจะต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง อย่างถูกวิธี การสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงการบริการ สุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนที่รู้จักการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจําเป็น เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้ง สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจําจนเป็นนิสัย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึง ความสําคัญของการมีสุขภาพดีจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญยิ่ง การกระตุ้นปลูกจิตสํานึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถเป็น แบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ ปราศจากโรค มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้การดําเนินงานตามกระบวนการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ร่วมคิด ร่วมดําเนินการตามแผนกิจกรรมที่กําหนดนําไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างสุขภาพ พัฒนา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อันจะนําไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชนในที่สุด
สถานการณ์ข้อมูลเด็กและเยาวชนตำบลควนโดนมีจำนวน 1,534 คน โดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป บริโภคอาหารFast Food น้ำอัดลมและอาหารสำเร็จรูป คิดเป็นปริมาณมากกว่า 50 เปอร์เซ็น ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลควนโดน ได้ตระหนักและเห็นความสําคัญของการส่งเสริมสุขภาพของเยาวชน ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็กอันนําไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงได้จัดทําโครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทราบถึงแนวคิดและวิธีการสร้างเสริม รวมถึงการเป็นสื่อจากพลัง ของเยาวชนในการประชาสัมพันธ์สร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้เยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถไปถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด เช่น เพื่อนักเรียน ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ที่เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่และตัวแทนเด็กและเยาวชนแต่ละหมู่บ้านร่วมกันประชุมวางแผนในการดำเนิน โครงการฯ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึง
  4. ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม
  5. ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ
    5.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพ 5.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการและอาหารสุขภาพ 5.3 กิจกรรมนันทนาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 5.4 กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสุขภาพและโภชนการให้แก่นักเรียนครอบครัวและเพื่อนบ้านในชุมชน
  6. ประเมินความพึงพอใจ
  7. สรุปผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง      2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน      3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้แก่เด็กและเยาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้แก่เด็กและเยาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ๆ ละ 600.-บาท เป็นเงิน 1,800.-บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60.-บาท x จำนวน 40 คนเป็นเงิน 2,400.-บาท 1.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30.-บาท x จำนวน 40 คน จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400.-บาท 1.4 ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 * 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน ตารางเมตรละ 150.-บาทเป็นเงิน375.-บาท 1.5 ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 30.-บาท เป็นเงิน1,200.-บาท 1.6 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม เป็นเงิน1,200.-บาทแยกเป็น (1)แฟ้มพลาสติก จำนวน 40 อันๆละ30 บาท เป็นเงิน 12,000.-บาท (2)ปากกา40ด้าน ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน400.-บาท (3)กระดาษ A4จำนวน 2 รีม ๆ ละ 155.-บาท เป็นเงิน 310.-บาท (4)กระดาษปรู๊ฟจำนวน 20 แผ่น ๆ ละ 5.-บาท เป็นเงิน 100.-บาท (5)ปากกาเคมีจำนวน 1 โหล ๆ ละ 180.-บาทเป็นเงิน 180.-บาท (6)กระดาษการ์ดสีจำนวน 1 แพ็ค ๆ ละ 250.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง      2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน      3.สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10615.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านโภชนการและอาหารสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านโภชนการและอาหารสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม. ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 1,200.-บาท 2.2 อาหารสำหรับใช้ในการทดลอง จำนวน 1 เซ็ท เป็นเงิน 360.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง      2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน      3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1560.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมนันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง      2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน      3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสุขภาพและโภชนการให้แก่นักเรียน ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสุขภาพและโภชนการให้แก่นักเรียน ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด ขนาด 1 * 1.5 เมตร ตารางเมตรละ 150.-บาท จำนวน 4 ผืนเป็นเงิน 900.-บาท
  2. ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ขนาด A4 (2 หน้า) จำนวน 385 แผ่น ๆ ละ 5.-บาทเป็นเงิน 1,925.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง      2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน      3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน
3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง


>