โครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลควนโดน |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอนุวัติ เพชรยก (ประธานกรรมการ) นางสาวอัลญาดา ยาอีด (กรรมการ) นางมนสิการ โย๊ะหมาด (กรรมการ) |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยกําลังประสบปัญหาด้านสุขภาพเด็กและเยาวชน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจาก การขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทยเพราะการพัฒนาประเทศต้อง เริ่มที่ตัวบุคคลให้มีคุณภาพการพัฒนา ด้านสุขภาพอนามัยก็เป็นส่วนสำคัญด้านหนึ่งที่จะต้องรณรงค์ส่งเสริมเพื่อให้ประชากรเด็กและ เยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมบูรณ์มีศักยภาพที่จะพัฒนาประเทศ การที่จะเป็นคนมีสุขภาพดีนั้นจะต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง อย่างถูกวิธี การสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงการบริการ สุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนที่รู้จักการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจําเป็น เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้ง สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจําจนเป็นนิสัย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึง ความสําคัญของการมีสุขภาพดีจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญยิ่ง การกระตุ้นปลูกจิตสํานึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถเป็น แบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ ปราศจากโรค มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้การดําเนินงานตามกระบวนการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ร่วมคิด ร่วมดําเนินการตามแผนกิจกรรมที่กําหนดนําไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างสุขภาพ พัฒนา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อันจะนําไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชนในที่สุด
สถานการณ์ข้อมูลเด็กและเยาวชนตำบลควนโดนมีจำนวน 1,534 คน โดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป บริโภคอาหารFast Food น้ำอัดลมและอาหารสำเร็จรูป คิดเป็นปริมาณมากกว่า 50 เปอร์เซ็น ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลควนโดน ได้ตระหนักและเห็นความสําคัญของการส่งเสริมสุขภาพของเยาวชน ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็กอันนําไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงได้จัดทําโครงการคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทราบถึงแนวคิดและวิธีการสร้างเสริม รวมถึงการเป็นสื่อจากพลัง ของเยาวชนในการประชาสัมพันธ์สร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 ของเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้เยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถไปถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด เช่น เพื่อนักเรียน ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ที่เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้ถูกต้อง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | วิธีดำเนินการ | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้แก่เด็กและเยาชน | 0 | 10,615.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านโภชนการและอาหารสุขภาพ | 0 | 1,560.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | กิจกรรมนันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | กิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสุขภาพและโภชนการให้แก่นักเรียน ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชน | 0 | 2,825.00 | - |
- เยาชนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
- เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน
- สามารถนำความรู้ที่ได้รับขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ในกลุ่มเพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 00:00 น.