2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย. สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือ การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฎีการแพทย์ทางเลือกที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อมสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ การเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยต่างๆให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดการดูแลปัญหาสุขภาพ แบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนภายใต้บริบทของพื้นที่ในการส่งเสริมสุขภาพใน 5 กลุ่มวัย (กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ)ให้มีสุขภาพที่ดี เริ่มตั้งแต่ สตรีและเด็กปฐมวัย มีการตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กพัฒนาการสมวัย เด็กวัยเรียน วัยรุ่นเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและมีทักษะสุขภาพ วัยทำงานสุขภาพแข็งแรง ฉลาดรอบรู้และ เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตอารมณ์ และสังคม ซึ่งต้องการการประเมินและให้การดูแลที่เหมาะสม เนื่องจากขณะตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากมาย ทั้งในด้านกายวิภาค และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงจะดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด เช่น การเปลี่ยนแปลงช่องคลอด ปากช่องคลอด มดลูก กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะขยายทำให้หน้าท้องลาย และการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมเมื่อคลอดบุตร โดยปกติระยะหลังคลอด ร่างกายก็จะมีการ
ปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง มดลูกมีขนาดเล็กลงเท่าก่อนตั้งครรภ์ ท้องจะลดลง เริ่มทานอาหารได้ปกติ ผิวพรรณสดใส แต่ในระยะหลังคลอดจะยังคงมีร่องรอยของการผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่พึงปรารถนา เช่น มีไขมันหน้าท้องมาก ผิวหน้า ตกกระ ด่างดำ ผิวหนังบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบคล้ำ ผิวหนังหย่อนยาน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามหลัง น่อง หรือบางรายเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งจะมีอาการหนาวสะท้านเมื่อเจอลมฝน นานวันเข้ากลายเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดด้วยการบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น บอกกล่าวว่าถ้าได้อยู่ไฟแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยการรักษาความอบอุ่นของร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ถูกต้อง การได้รับการนวดฟื้นฟูสุขภาพ อบไอน้ำสมุนไพร ทับหม้อเกลือ การใช้ผ้ารัดหน้าท้อง และการรับประทานยาสมุนไพรในการขับน้ำคาวปลา และบำรุงเลือด และบำรุงน้ำนม ซึ่งเป้าหมายการดูแลหญิงหลังคลอด คือการช่วยให้มารดาหลังคลอดสามารถดูแลตนเอง ดูแลทารก และดำรงบทบาทการเป็นมารดาได้เหมาะสม
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อที่เสื่อมมากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าทำให้มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมในกลุ่มอายุที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตำแหน่งของข้อที่มีการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วย และต้องเข้ารับบริการมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปจะรับการรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาดังกล่าวหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ได้ตระหนักถึงการลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ที่เป็นสาเหตุผลข้างเคียงของยาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต จึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยจัดเป็นโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งมีกิจกรรม คือการนวดกดจุดสัญญาณ, การใช้สมุนไพรพอกเข่า ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน และการให้คำแนะนำ เพื่อลดอาการปวดเข่า อีกทั้งช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาไทยอีกด้วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 26/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?