กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ Health station ศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

1.นางกัลญา แสงน่วม
2.นางปะภาดา แก้วแป้น
3.นายถาวร อินทร์ขาว
4.นางนัยนา ไหมดี
5.นางอารีย์ ไชยหยู

หมู่ที่ 1 , 2 ,4 และ 10 ตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

60.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

32.00

ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาท ในปี 2560 และมีคนไทยต้องเสียชีวิตจากโรค NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายแก้ไขปัญหาโดยผลักดันการส่งเสริมสุขภาพและแนวคิดวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีไปสู่การปฏิบัติ NCDs สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดี สิทธิประโยชน์เพิ่ม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs เพื่อลดอัตราการป่วยก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา เนื่องจากคนในชุมชนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง –โรคเบาหวานเพื่อมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และได้ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรคใด ไม่แพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ก็เกิดจากนิสัยและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภค การไม่ออกกำลังกาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภัยเงียบ เมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ก็ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื้อรังของโรคอีกด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โรคเป็นเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ NCD ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในกลุ่มโรค NCDS ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของชุมชน อำเภอยะหริ่งมีคนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทางตรงและความสูญเสียทางอ้อม เพื่อให้คนไทยห่างไกลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) โดยมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ อสม. 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/04/2025

กำหนดเสร็จ 15/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้งกำหนดรูปแบบและหาแนวทางจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้งกำหนดรูปแบบและหาแนวทางจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้งกำหนดรูปแบบและหาแนวทางการจัดกิจกรรม -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าสมุดประจำตัวศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 70 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานจำนวน 50 คน 2.สมุดประจำตัวกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 kick off ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs

ชื่อกิจกรรม
kick off ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้เรื่อง NCDs -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท -เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 7,600 บาท -เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงดิจิตอลแบบประมวลผล body composition จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 10,000 บาท -ไวนิลความรู้พร้อมขาตั้ง จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2568 ถึง 4 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและมีความรู้เรื่อง NCDs

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21750.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 5 วัน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 2มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2568 ถึง 25 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานลดลง


>