กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Health station ศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L3368-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2568 - 15 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 38,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลญา แสงน่วม
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม
60.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
25.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
32.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาท ในปี 2560 และมีคนไทยต้องเสียชีวิตจากโรค NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายแก้ไขปัญหาโดยผลักดันการส่งเสริมสุขภาพและแนวคิดวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีไปสู่การปฏิบัติ NCDs สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดี สิทธิประโยชน์เพิ่ม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs เพื่อลดอัตราการป่วยก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา เนื่องจากคนในชุมชนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง –โรคเบาหวานเพื่อมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และได้ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรคใด ไม่แพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ก็เกิดจากนิสัยและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภค การไม่ออกกำลังกาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภัยเงียบ เมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ก็ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื้อรังของโรคอีกด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โรคเป็นเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ NCD ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในกลุ่มโรค NCDS ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของชุมชน อำเภอยะหริ่งมีคนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทางตรงและความสูญเสียทางอ้อม เพื่อให้คนไทยห่างไกลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) โดยมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38,300.00 2 25,750.00 12,550.00
18 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้งกำหนดรูปแบบและหาแนวทางจัดกิจกรรม 0 4,000.00 4,000.00 0.00
8 พ.ค. 68 - 4 ก.ย. 68 kick off ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs 0 21,750.00 21,750.00 0.00
13 - 31 พ.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มที่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี 0 6,550.00 - -
20 - 25 ส.ค. 68 ประเมินติดตามประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสรุปผลการดำเนินงาน 0 6,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 38,300.00 2 25,750.00 12,550.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2568 00:00 น.