กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพือการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

โรงเรียนบ้านกรือเซะ

1.นายมะสูฮารตู บระอาซัน
2.นายอุสมาน มูหน๊ะ
3. นางสาวแวรุสนีเเจ๊ะเมาะ
4.นางสาวแวซง เลาะซา
5. นางอามีเราะห์ ดือราแมหะยี

โรงเรียนบ้านกรือเซะ ตำบลยะรังอำอยะรังจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญมาทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ ในแต่ละวันจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนนับร้อยล้านตัน แต่เราสามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละไม่กี่สิบล้านตันเท่านั้น จึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่จำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหาเป็นอย่างมากทั้งทางด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด ฯลฯ เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ถึงแม้ว่าในปีหนึ่ง ๆ ประเทศจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากไปกับการจัดการด้านขยะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากรัฐบาลยังมีการบริหารการจัดการขยะยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนในประเทศเองก็ยังขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่เพราะพอได้ยินคำว่า "ขยะ" หลาย ๆ คนก็ไม่สนใจ ละเลยและไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและเงินงบประมาณแผ่นดินได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณขยะก็จะลดจำนวนลงได้มาก ซึ่งจะส่งผลดีทั่งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อประชากร และต่อประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างควาใตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน 2.ลดมลพิษภายในโรงเรียน 3.นักเรียนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะ 4.เพื่อลดแหล่งกำเนิดโรคติดต่อจากยุงและหนู 5.เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน

• สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเกิดกับนักเรียน  ร้อยละ 100 • ลดมลพิษจากโรงเรียน รักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน  ร้อยละ 100 -นักเรียนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะ ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 254
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพือการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
โครงการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพือการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียนงบประมาณ 24,300 บาท
  2. จัดค่ายจิตอาสาเพื่อการพัฒนาสิ่งวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน โดยมีฐานความรู้ต่างๆดังนี้ ฐานคัดแยกขยะได้ด้วยมือเรา ฐานการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง ฐานน้ำหมักชีวภาพรักษ์สิ่งแวดล้อม ฐานน้ำยาอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์
  3. ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมงเป็นเงิน 2,400บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 254 คนๆละ 35 บาท เป็นเงินจำนวนเงิน 8750 บาท (ไม่เกิน 35 บาทต่อมื้อ)
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้สอยอื่นๆ จำนวน 13,150 บาท ดังรายละเอียดังนี้
  6. ค่าไวนิลขนาด 1*3 เมตร 750 บาท 2. กระดาษขาวเทา 20 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท 3.ปากกาเคมี ตราม้าสองหัว 5 กล่อง เป็นเงิน 600 บาท
  7. กระดาษ A4 70 แกรม 4 รีม ราคา 500 บาท
    5.่ค่าปากกาลูกลื่น 4 โหล ราคา 250 บาท
  8. ดินปลูก 50 ถุง เป็นเงิน 1,750 บาท
  9. ค่าเปลือกมะพร้าว 10 ถุง เป็นเงิน 500 บาท
  10. ค่าปุ๋ยคอก 30 กระสอบ เป็นเงิน 3,000 บาท
  11. ค่าเข่งพลาสติก 10 อันเป็นเงิน 2,000 บาท
    10.ค่าถังหมักสีน้ำเงิน3 ถัง เป็นเงิน 1,000 บาท
  12. ค่าถังดำพลาสติก 10 ถังเป็นเงิน 1,000 บาท
  13. ค่าไม้กวาดไม้ไผ่ 20 ไม้เป็นเงิน1,000 บาท
  14. ค่ากากน้ำตาลจำนวน2 แกลอนเป็นเงิน 500 บาท


    งบประมาณ 24,300บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เชิงปริมาณ
- โรงเรียนมีการแก้ปัญหาขยะในโรงเรียนอย่างถูกสุขลักษณะ - โรงเรียนสามารถนำวัสดุเหลือใช้ (ขยะ) มาใช้ให้เกิดประโยชน์    - โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน ภูมิทัศน์ให้เป็นสถานศึกษา “น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน” มีสภาพเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุขและปลอดภัยเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุขและปลอดภัย        เชิงคุณภาพ - นักเรียนมีนิสัยรักความสะอาด รักธรรมชาติและรักโรงเรียนของตนเอง - ชุมชน  บุคลากรในโรงเรียน และนักเรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการมาโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :
บประมาณ24,550 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในโรงเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. โรงเรียนมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
3. โรงเรียนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมสะอาด น่าอยู่
4. นักเรียนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะและเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่าง


>