กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง

1.พระครูวิมลธรรมรส
2.นางวิไลลักษณ์ทองช่วย 0897373069
3.นายสุรพงษ์ ทองช่วย
4.นายพิสิฐศักดิ์นุรักษ์ภักดี
5.นายสว่าง ไกลเอียด

วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม" ของวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และความสำคัญของการรักษาความสะอาดภายในวัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนมักมาเยี่ยมเยียนเพื่อปฏิบัติธรรมและทำบุญ รวมถึงการที่วัดมีบทบาทในการส่งเสริมจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั้งในด้านการจัดการขยะ การลดการใช้พลาสติก การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ในปัจจุบัน วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวงได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นภายในวัด เช่น การทำบุญ การประกอบพิธีกรรม รวมถึงการรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งสร้างปริมาณขยะมากมายในแต่ละวัน โดยเฉพาะขยะพลาสติกและวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้เกิดปัญหาการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน
จากปัญหาดังกล่าว วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง ได้เคยริเริ่ม จัดโครงการลดขยะเปียกแปรรูปเป็นสวนผักปลอดสารพิษ เมื่อปี 2566 จนพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม แต่การจัดการขยะในประเภทอื่นๆยังคงเป็นปัญหาภายในวัด ทางกลุ่มวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง จึงมีวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณขยะต้นทางภายในวัดให้เหลือศูนย์ ส่งเสริมการคัดแยกขยะและการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้พลาสติกและวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพระสงฆ์และญาติโยมเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ โครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม" นี้ขึ้น เพื่อสร้างความสุขและความปลอดภัยให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมเยียนวัด ด้วยการสร้างบรรยากาศที่สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างสงบสุข และกลับบ้านไปด้วยจิตใจที่สดใส พร้อมกับมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวปฏิบัติในการคัดแยกขยะ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมผ่านที่กำหนด โดยแบบประเมินวัดความรู้ความเข้าใจ

0.00 30.00
2 เพื่อนำขยะอินทรีย์ในวัดชนาธิปเฉลิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  • เกิดผลผลิตจากขยะอินทรีย์อย่างน้อย 1 รายการ
  • สามารถใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ภายในวัดได้อย่างน้อย ร้อยละ 80 (มีการเก็บสถิติปริมาณขยะเปียกที่สามารถใช้ประโยชน์ได้) (เก็บสถิติผลผลิตที่ได้สร้างมูลค่าได้จำนวนเงินเท่าไรจากการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ภายในวัด)
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 15
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ตัวแทน อสม./กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการวัด/เยาวชนในหมู่บ้าน/นักเรียน/ตัวแทนจากโรงเรียนเทศบาล 2 รายละเอียดกิจกรรม ประกอบด้วย
- วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านและภายในวัด
- กำหนดประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไข
- วางแผนการดำเนินงาน/กำหนดเวลา
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์/รณรงค์การจัดการขยะภายในวัดและที่สาธารณะในชุมชน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม คนละ 70 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท (1 มื้อ) จำนวน 30 คน เป็นเงิน 900 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 3 ผืน(ขนาดผืนละ 1.5 X 2 เมตร ราคาเมตรละ 150 บาท) เป็นเงิน 1,350 บาท
กำหนดการ
08.30 -09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 -12.00 น. วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านและภายในวัด กำหนดประเด็นปัญหา/แนวทางแก้ไข
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. วางแผนการดำเนินงาน
14.30 น.เสร็จสิ้นกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2568 ถึง 19 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต: ข้อมูลปัญหาสถิติปริมาณขยะอินทรีย์ภายในวัดชนาธิปเฉลิม แผนการดำเนินการ
ผลลัพธ์: จัดทำแผนการดำเนินการจัดการขยะอินทรีย์ภายในวัดชนาธิปเฉลิมและขยายไปในพื้นที่ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6150.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวันและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวันและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนในชุมชน/นักเรียน/พระภิกษุ (สมาชิกศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน)
วันที่ 1
1.1 ความรู้เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวัน
1.2 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกวิธี
1.3 สาธิต/ฝึกปฏิบัติ การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ โดยวิทยากร
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม คนละ 70 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 30 บาท (2 มื้อ) จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
5. ค่าวัสดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์
5.1 กากน้ำตาล 10/300/แกลลอน (20 ล.)/บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
5.2 แกลบดิบ 40 กระสอบ ๆ ละ 40บาท เป็นเงิน 1,600บาท
5.3 มูลวัวนม (ไร้เมล็ดหญ้า)100กระสอบ ๆละ70 บาท เป็นเงิน 7,000บาท
5.4 ถุงมือ 30 คู่ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600บาท
5.5 ผ้ากันเปื้อน 30 ชุดๆละ 59 บาท เป็นเงิน 1,770บาท
กำหนดการ
08.30 -09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 -10.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวัน
10.00-12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกวิธี
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. สาธิต/ฝึกปฏิบัติ การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์
16.30 น.เสร็จสิ้นกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2568 ถึง 12 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต :ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ มีจำนวนผู้มาอบรมครบตามที่กำหนดไว้
ผลลัพธ์: ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวัน ,การจัดการขยะที่ถูกวิธีและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์, ผักปลอดสารพิษจากปุ๋ยหมัก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22370.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ตัวแทน อสม./กรรมการชุมชน/กรรมการวัด/เยาวชนในชุมชน/นักเรียน/ตัวแทนจากโรงเรียนเทศบาล 2
- รณรงค์การเก็บขยะ
- ปรับภูมิทัศน์รอบ ๆ บริเวณวัด
งบประมาณ
1. ถุงขยะแยกสีตามหลักการ 5 R ขนาด 30 X 40 ซม. 20 แพ็คๆละ 39 บาท เป็นเงิน 780 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต :วัดสะอาด
ผลลัพธ์ : ได้จัดกิจกรรมปรับภูมิทัศน์รอบ ๆ บริเวณวัดและเก็บขยะร่วมกันระหว่างตัวแทนอสม./กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการวัด/เยาวชนในหมู่บ้าน/นักเรียน/ตัวแทนจากรร.ท.2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
780.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียน/สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน/สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชนจำนวน20คน ประชุมสมาชิกศูนย์เรียนรู้ระบบสุขภาพตามวิถีชุมชน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรม โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของสมาชิกเพื่อถอดบทเรียนโดยการแบงกลุ่มทำ work shop
เพื่อรบวรวมข้อมูลในการพัฒนาโครงการในครั้งถัดไป
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 30 บาท (1 มื้อ) จำนวน 20 คน เป็นเงิน 600 บาท
2. เอกสารประกอบการประชุมจำนวน 20 ชุด ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
3. เล่มรายงานผลการดำเนินงานจำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน500 บาท
กำหนดการ
13.00 -13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 -16.00 น. สรุปผลการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรม
-กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวันและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย
(ผลผลิต/ผลลัพธ์)
-กิจกรรมสาธิต/ฝึกปฏิบัติ การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ (ผลผลิต/ผลลัพธ์)
-กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน (ผลผลิต/ผลลัพธ์)
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างการประชุม/กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2568 ถึง 8 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต: กระบวนการผลิตขยะอินทรีย์ในวัด หรือ แผนผังการจัดการขยะอินทรีย์ในวัดชนาธิปเฉลิมและสรุปเล่มรายงานผลการดำเนินงานจำนวน 2 เล่ม
ผลลัพธ์:ทราบปัญหาจากการทำงานและถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาต่อยอดในปีถัดไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่พบขยะภายในวัดและบริเวณรอบ ๆ วัด
2. วัดและประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้อง
4. เด็กนักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึก นิสัยรักสะอาดและปริมาณขยะในวัดและชุมชนลดลง
5. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ
6. ขยายผลการจัดการขยะอินทรีย์ลงพื้นที่ชุมชนชนาธิป


>