โครงการเปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม
ชื่อโครงการ | โครงการเปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม |
รหัสโครงการ | 68-L8008-02-30 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวิไลลักษณ์ ทองช่วย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 30,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 30,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม" ของวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และความสำคัญของการรักษาความสะอาดภายในวัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนมักมาเยี่ยมเยียนเพื่อปฏิบัติธรรมและทำบุญ รวมถึงการที่วัดมีบทบาทในการส่งเสริมจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั้งในด้านการจัดการขยะ การลดการใช้พลาสติก การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในปัจจุบัน วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวงได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นภายในวัด เช่น การทำบุญ การประกอบพิธีกรรม รวมถึงการรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งสร้างปริมาณขยะมากมายในแต่ละวัน โดยเฉพาะขยะพลาสติกและวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้เกิดปัญหาการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม และส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน จากปัญหาดังกล่าว วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง ได้เคยริเริ่ม จัดโครงการลดขยะเปียกแปรรูปเป็นสวนผักปลอดสารพิษ เมื่อปี 2566 จนพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม แต่การจัดการขยะในประเภทอื่นๆยังคงเป็นปัญหาภายในวัด ทางกลุ่มวัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง จึงมีวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณขยะต้นทางภายในวัดให้เหลือศูนย์ ส่งเสริมการคัดแยกขยะและการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้พลาสติกและวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพระสงฆ์และญาติโยมเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ โครงการ "เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยหมักปลูกพืชปลอดสารพิษ วัดชนาธิปเฉลิม" นี้ขึ้น เพื่อสร้างความสุขและความปลอดภัยให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมเยียนวัด ด้วยการสร้างบรรยากาศที่สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างสงบสุข และกลับบ้านไปด้วยจิตใจที่สดใส พร้อมกับมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้และแนวปฏิบัติในการคัดแยกขยะ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมผ่านที่กำหนด โดยแบบประเมินวัดความรู้ความเข้าใจ |
0.00 | 30.00 |
2 | เพื่อนำขยะอินทรีย์ในวัดชนาธิปเฉลิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
|
1.00 | 1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 พ.ค. 68 | เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะในพื้นที่ | 0 | 6,150.00 | - | ||
12 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การจัดการขยะที่ถูกวิธีและโรคทางเดินอาหารที่แพร่เชื้อโดยแมลงวันและการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย | 0 | 22,370.00 | - | ||
8 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน | 0 | 780.00 | - | ||
8 ก.ย. 68 | ถอดบทเรียน/สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 1,500.00 | - | ||
รวม | 0 | 30,800.00 | 0 | 0.00 |
- ไม่พบขยะภายในวัดและบริเวณรอบ ๆ วัด
- วัดและประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้อง
- เด็กนักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึก นิสัยรักสะอาดและปริมาณขยะในวัดและชุมชนลดลง
- ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ
- ขยายผลการจัดการขยะอินทรีย์ลงพื้นที่ชุมชนชนาธิป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2568 00:00 น.