กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมมุสลิม โรงพยาบาลสตูล

นายนัฐพงศ์ เด็นมาเส
นายอาณัติ ดลระหมาน
นางกันยาพร ไชยศักดิ์
นางนันทนา ศรีคำแท้
นายเสรี ปังหลีเส็น084-0675595
นายประพันธ์ ด้วยกาแด093-5806777
นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด
นางนูรดีนี หมีดเส็น
น.ส.พัฒนาวดีหลีนิ่ง 086-7415983

20 ชุมชน ต.พิมาน อ.เมืองสตูล จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection, UTI) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กทั้ง เพศชาย และหญิงพบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กชายสูงกว่าเด็กหญิงในช่วงอายุ 1ขวบปีแรก มีอุบัติการณ์การติดเชื้อจากปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ (Balanitis) ภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะ เพศไม่เปิด Phimosis ในเด็กผู้ชายยังพบในปัจจุบันอาจมีอุบัติการณ์เกิดที่ไม่มากซึ่งส่วนใหญ่พบมีอาการ บวมอักเสบบริเวณปลายอวัยวะเพศ สามารถเกิดขึ้นได้กับเพศชายในทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีหนังหุ้มปลาย และไม่ได้ทำการขลิบอวัยวะเพศ แม้ว่าอาการนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าหากทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และดูแลสุขอนามัยให้สะอาด ก็สามารถช่วยรักษา และป้องกันปลายอวัยวะเพศชาย อักเสบได้ป้องกันการติดโรคบางชนิด และป้องกันมะเร็ง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีเด็กอายุ 3 ปีจะมีอยู่ ประมาณร้อยละ 10 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด แต่ยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้ เมื่อติดตามมาจนกระทั่งอายุ 6 ปีจะมีประมาณร้อยละ 8 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดและเหลือเพียงร้อยละ 1 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดจนถึงอายุ 16ปี การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ หรือ Circumcision ส่งผลให้สามารถรูดปลายอวัยวะเพศทำความสะอาด บริเวณด้านในขององคชาติได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่าขี้เปียก หรือ Smegma มี ลักษณะเป็นขุยขาวๆ คล้ายขี้ไคลขึ้นมาและการที่ไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่งก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อเรื้อรัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งที่องคชาติได้ และจากการเก็บ ข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมะเร็งองคชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถรูดหนังออกเพื่อทำความสะอาดได้ ผู้ชายที่เป็น มะเร็งที่องคชาติปัจจุบันพบได้บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ดูแลสุขอนามัยไม่ค่อยดี ในพื้นที่ ต.พิมาน เด็กผู้ชายอายุ 7-12 ปี จำนวนทั้งสิ้น876คน ซึ่งพบอุบัติการณ์หนังหุ้มปลายไม่ลง (phimosis) ที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 2-7 ปีคิดเป็นร้อยละ0.34และพบอุบัติการณ์การติดเชื้อหลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธ์จำนวน 10-20 คน/ปี เนื่องจากทำการหัตถการกับหมอบ้านในชุมชนไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ถูกต้องตามหลัก Sterile Technique ส่งผลให้เด็กต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน และสอดคล้องกับพื้นที่ต.พิมาน นับถือศาสนาอิสลามคิดร้อยละ 70 ซึ่งตามหลักศาสนาอิสลาม เด็กผู้ชายมุสลิมทุกคนต้องผ่านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ดังนั้นเพื่อให้เด็กชายมุสลิมอายุ 7-12 ปี ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่ถูกหลักสุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อหลังการทำหัตถการ และป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นทางชมรมจริยธรรม ( ชมรมมุสลิม ) โรงพยาบาลสตูลได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ไม่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ = 0

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ถูกต้องตามหลักการแพทย์

เด็กและเยาวชน เข้าร่วมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ร้อยละ 100 (ุ68 คน)

68.00 68.00
3 เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกันปัญหาต่อการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดและลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะส่วนต้น

ไม่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ = 0

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 68
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานและรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานและรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากร สถานที่ เอกสารที่จำเป็น
  2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง และค้นหากลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนในตำบลพิมาน
  3. ออกแบบรายละเอียดและนำเสนอโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 4 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนตามเกณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 68 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม :อบรมให้ความรู้เด็ก และผู้ปกครอง ในเรื่องโรคทางเดินปัสสาวะ และการดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
1.เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน
2.ตัวแทนผู้ปกครองเด็กและเยาวชน จำนวน 68 คน
3.เจ้าหน้าที่จำนวน 71 คน ประกอบด้วย
แพทย์ผู้ทำหัตถการ 3 คน ผู้ช่วยแพทย์ผู้ทำหัตถการ 4 คน เจ้าหน้าที่ช่วยเย็บ และตัดไหม จำนวน24 คน จุดลงทะเบียน5 คน จุดจัดเรียงคิว4 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จัดเตรียมเครื่องมือ5 คน จุดสังเกตุอาการ3 คน จุดให้คำแนะนำ ประเมินอาการก่อนกลับบ้าน 5 คน เจ้าหน้าเดินเครื่องมือ และเก็บล้างจำนวน 3 คน เภสัชกรและผู้ช่วยจ่ายยา5 คน อีหม่าม และแขกผู้มีเกียรติ 10 คน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและทีมสหวิชาชีพที่ร่วมดูแลผู้ทำหัตถการ
1.1 อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20ึ7 คน x 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 12,420 บาท
1.2 อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 207 คนมื้อๆ ละ 70บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 14,490 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากรเชี่ยวชาญทางสาธารณสุข จำนวน 2 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์การทำหัตถการ จำนวน 68 คนๆละ 1,100 บาท เป็นเงิน 74,800 บาท
4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 2.5x4 เมตร ราคา 1,500 บาท
5. ค่าแผ่นพับ,อุปกรณ์,สื่อการสอน,กระดาษ ปากกา เป็นเงิน 3,500 บาท
กำหนดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม สถานที่ดำเนินงาน ห้องประชุมโรงพยาบาลสตูล
07.00 – 08.00 น. ลงทะเบียน
08.00 – 08.30 น. พิธีเปิด /กล่าวต้อนรับ โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตูล / เปิดโดยนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองสตูล
08.30 – 08.45 น. พิธีทางศาสนาอิสลาม
08.45 – 10.45 น. บรรยายให้ความรู้การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ และการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย โดยนพ.นัฐพงศ์ เด็นมาเส
10.45 – 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
11.00 – 12.00 น. ดำเนินการขลิบหนังอวัยวะเพศ (ทีมสุขภาพโรงพยาบาลสตูล)
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.30 น. ดำเนินการขลิบหนังอวัยวะเพศ (ทีมสุขภาพโรงพยาบาลสตูล)
16.30 – 17.00 น. สรุปผลโครงการ
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2568 ถึง 7 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 68 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
107910.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
  2. สรุปผลดำเนินโครงการ และเข้าเล่ม จำนวน 2 เล่มๆ ละ 250 บาทx 2 เล่ม เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ดี
2.สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 108,410.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ มีความรู้เพิ่มขึ้นโดยใช้แบบประเมินความรู้ มากกว่าร้อยละ 80
2.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต เด็กและเยาวชนมุสลิมทำสุนัต รายชื่อเยาวชนได้รับทำสุนัตมากกว่าร้อยละ 80
3.ปลอดภัยจากการติดเชื้อ แผลแห้งไม่มีการติดเชื้อผลการติดตามเยี่ยม การติดเชื้อแผลเท่ากับ 0
4.ความพึงพอใจ ผู้รับบริการพึงพอใจ แบบประเมินความพึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 80


>