กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ชมรมมุสลิม โรงพยาบาลสตูล
กลุ่มคน
นายนัฐพงศ์ เด็นมาเส
นายอาณัติ ดลระหมาน
นางกันยาพร ไชยศักดิ์
นางนันทนา ศรีคำแท้
นายเสรี ปังหลีเส็น084-0675595
นายประพันธ์ ด้วยกาแด093-5806777
นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด
นางนูรดีนี หมีดเส็น
น.ส.พัฒนาวดีหลีนิ่ง 086-7415983
3.
หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection, UTI) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กทั้ง เพศชาย และหญิงพบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กชายสูงกว่าเด็กหญิงในช่วงอายุ 1ขวบปีแรก มีอุบัติการณ์การติดเชื้อจากปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ (Balanitis) ภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะ เพศไม่เปิด Phimosis ในเด็กผู้ชายยังพบในปัจจุบันอาจมีอุบัติการณ์เกิดที่ไม่มากซึ่งส่วนใหญ่พบมีอาการ บวมอักเสบบริเวณปลายอวัยวะเพศ สามารถเกิดขึ้นได้กับเพศชายในทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีหนังหุ้มปลาย และไม่ได้ทำการขลิบอวัยวะเพศ แม้ว่าอาการนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าหากทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และดูแลสุขอนามัยให้สะอาด ก็สามารถช่วยรักษา และป้องกันปลายอวัยวะเพศชาย อักเสบได้ป้องกันการติดโรคบางชนิด และป้องกันมะเร็ง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีเด็กอายุ 3 ปีจะมีอยู่ ประมาณร้อยละ 10 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด แต่ยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้ เมื่อติดตามมาจนกระทั่งอายุ 6 ปีจะมีประมาณร้อยละ 8 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดและเหลือเพียงร้อยละ 1 ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดจนถึงอายุ 16ปี การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ หรือ Circumcision ส่งผลให้สามารถรูดปลายอวัยวะเพศทำความสะอาด บริเวณด้านในขององคชาติได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่าขี้เปียก หรือ Smegma มี ลักษณะเป็นขุยขาวๆ คล้ายขี้ไคลขึ้นมาและการที่ไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่งก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อเรื้อรัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งที่องคชาติได้ และจากการเก็บ ข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมะเร็งองคชาติเกือบทั้งหมด ไม่สามารถรูดหนังออกเพื่อทำความสะอาดได้ ผู้ชายที่เป็น มะเร็งที่องคชาติปัจจุบันพบได้บ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ดูแลสุขอนามัยไม่ค่อยดี ในพื้นที่ ต.พิมาน เด็กผู้ชายอายุ 7-12 ปี จำนวนทั้งสิ้น876คน ซึ่งพบอุบัติการณ์หนังหุ้มปลายไม่ลง (phimosis) ที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 2-7 ปีคิดเป็นร้อยละ0.34และพบอุบัติการณ์การติดเชื้อหลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธ์จำนวน 10-20 คน/ปี เนื่องจากทำการหัตถการกับหมอบ้านในชุมชนไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ถูกต้องตามหลัก Sterile Technique ส่งผลให้เด็กต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน และสอดคล้องกับพื้นที่ต.พิมาน นับถือศาสนาอิสลามคิดร้อยละ 70 ซึ่งตามหลักศาสนาอิสลาม เด็กผู้ชายมุสลิมทุกคนต้องผ่านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ดังนั้นเพื่อให้เด็กชายมุสลิมอายุ 7-12 ปี ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่ถูกหลักสุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อหลังการทำหัตถการ และป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นทางชมรมจริยธรรม ( ชมรมมุสลิม ) โรงพยาบาลสตูลได้ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม 2568 ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
    ตัวชี้วัด : ไม่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ = 0
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ถูกต้องตามหลักการแพทย์
    ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชน เข้าร่วมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ร้อยละ 100 (ุ68 คน)
    ขนาดปัญหา 68.00 เป้าหมาย 68.00
  • 3. เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกันปัญหาต่อการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดและลดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะส่วนต้น
    ตัวชี้วัด : ไม่เกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ = 0
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดประชุมคณะทำงานและรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด
    1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากร สถานที่ เอกสารที่จำเป็น
    2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง และค้นหากลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนในตำบลพิมาน
    3. ออกแบบรายละเอียดและนำเสนอโครงการ
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
    รายละเอียด

    รูปแบบกิจกรรม :อบรมให้ความรู้เด็ก และผู้ปกครอง ในเรื่องโรคทางเดินปัสสาวะ และการดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
    1.เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน
    2.ตัวแทนผู้ปกครองเด็กและเยาวชน จำนวน 68 คน
    3.เจ้าหน้าที่จำนวน 71 คน ประกอบด้วย
    แพทย์ผู้ทำหัตถการ 3 คน ผู้ช่วยแพทย์ผู้ทำหัตถการ 4 คน เจ้าหน้าที่ช่วยเย็บ และตัดไหม จำนวน24 คน จุดลงทะเบียน5 คน จุดจัดเรียงคิว4 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จัดเตรียมเครื่องมือ5 คน จุดสังเกตุอาการ3 คน จุดให้คำแนะนำ ประเมินอาการก่อนกลับบ้าน 5 คน เจ้าหน้าเดินเครื่องมือ และเก็บล้างจำนวน 3 คน เภสัชกรและผู้ช่วยจ่ายยา5 คน อีหม่าม และแขกผู้มีเกียรติ 10 คน
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและทีมสหวิชาชีพที่ร่วมดูแลผู้ทำหัตถการ
    1.1 อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20ึ7 คน x 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 12,420 บาท
    1.2 อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 207 คนมื้อๆ ละ 70บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 14,490 บาท
    2. ค่าสมนาคุณวิทยากรเชี่ยวชาญทางสาธารณสุข จำนวน 2 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    3. ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์การทำหัตถการ จำนวน 68 คนๆละ 1,100 บาท เป็นเงิน 74,800 บาท
    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 2.5x4 เมตร ราคา 1,500 บาท
    5. ค่าแผ่นพับ,อุปกรณ์,สื่อการสอน,กระดาษ ปากกา เป็นเงิน 3,500 บาท
    กำหนดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพและขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม สถานที่ดำเนินงาน ห้องประชุมโรงพยาบาลสตูล
    07.00 – 08.00 น. ลงทะเบียน
    08.00 – 08.30 น. พิธีเปิด /กล่าวต้อนรับ โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตูล / เปิดโดยนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองสตูล
    08.30 – 08.45 น. พิธีทางศาสนาอิสลาม
    08.45 – 10.45 น. บรรยายให้ความรู้การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ และการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย โดยนพ.นัฐพงศ์ เด็นมาเส
    10.45 – 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    11.00 – 12.00 น. ดำเนินการขลิบหนังอวัยวะเพศ (ทีมสุขภาพโรงพยาบาลสตูล)
    12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 – 16.30 น. ดำเนินการขลิบหนังอวัยวะเพศ (ทีมสุขภาพโรงพยาบาลสตูล)
    16.30 – 17.00 น. สรุปผลโครงการ
    หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

    งบประมาณ 107,910.00 บาท
  • 3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
    รายละเอียด
    1. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
    2. สรุปผลดำเนินโครงการ และเข้าเล่ม จำนวน 2 เล่มๆ ละ 250 บาทx 2 เล่ม เป็นเงิน 500 บาท
    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

20 ชุมชน ต.พิมาน อ.เมืองสตูล จ.สตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 108,410.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ มีความรู้เพิ่มขึ้นโดยใช้แบบประเมินความรู้ มากกว่าร้อยละ 80
2.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต เด็กและเยาวชนมุสลิมทำสุนัต รายชื่อเยาวชนได้รับทำสุนัตมากกว่าร้อยละ 80
3.ปลอดภัยจากการติดเชื้อ แผลแห้งไม่มีการติดเชื้อผลการติดตามเยี่ยม การติดเชื้อแผลเท่ากับ 0
4.ความพึงพอใจ ผู้รับบริการพึงพอใจ แบบประเมินความพึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 80

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 108,410.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................