กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง รหัส กปท. L4113

อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปีพ.ศ. 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง
3.
หลักการและเหตุผล

การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth) หมายถึง การคลอดทารกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (American College of Obstetricians and Gynecologists, 2016) ในส่วนของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย ให้ความหมายว่า เป็นการคลอดทารกตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ 6 วัน (ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย, 2566) ในประเทศไทย พบว่า อัตราหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564 2565 และ 2566 เป็นร้อยละ 12.47 11.61 และ 10.32 ตามลำดับ ซึ่งยังสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย คือ ไม่เกินร้อยละ 9 (ระบบคลังข้อมูล สุขภาพ, 2566) ซึ่งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจของมารดา ทั้งยังเป็นสาเหตุการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรก ทารกที่คลอด ก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวน้อย อวัยวะต่างๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีประสิทธิภาพการทำงานไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา เช่น การขยายตัวของปอดไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาในการหายใจ มีปัญหา เลือดออกในสมอง เกิดการติดเชื้อ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายไม่ดี และสมองอาจมีความพิการได้ง่าย ทำให้ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลค่อนข้างสูง และยัง พบว่า มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายของทารกในระยะยาวอีกด้วย เช่น ทารกมี ปัญหาด้านสติปัญญา สายตา และมักมีสุขภาพไม่แข็งแรง
ปัจจุบันยังพบปัญหาหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นจำนวนมาก และจากข้อมูลที่ผ่านมาพบ การคลอดในประเทศไทย ประมาณ 50,000 ราย พบอัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 10 ถึง 15 โดยเฉพาะหญิงวัยทำงานที่มีช่วงอายุ 20 ถึง 35 ปี ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์เนื่องจากขาดการศึกษา ไม่ตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด ขาดประสบการณ์ในการดูแลตนเอง หรือเป็นกลุ่มหญิงวัยทำงานที่ต้องทำงานหนักระหว่างการตั้งครรภ์ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง จึงได้ จัดทำโครงการ สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดประจำปีพ.ศ. 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด และส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักถึง อันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนของอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ต้องไปโรงพยาบาล รวมทั้งให้ความช่วยเหลือหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้และมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลได้ทันท่วงที

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนที่ต้องมา โรงพยาบาล
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนที่ต้องมา โรงพยาบาล ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้มีรถบริการรับ-ส่งหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางเพื่อไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
    ตัวชี้วัด : มีรถบริการรับ-ส่งหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางเพื่อไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ปรับปรุงคำสั่งและประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 15 คน เป็นเงิน 525 บาท
    งบประมาณ 525.00 บาท
  • 2. สำรวจสตรีตั้งครรภ์รายใหม่ร่วมกับทีมในพื้นที่ เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
    รายละเอียด

    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้
    รายละเอียด

    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 55 คนเป็นเงิน 3,850 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 55 คน เป็นเงิน 3,850 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าสมุดเล่มละ 10 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน500 บาท
    • ค่าปากกาด้ามละ 10 บาท จำนวน 50 ด้าม เป็นเงิน500 บาท
    • ค่ากระเป๋าผ้าใบละ 60 บาท จำนวน 50 ใบ เป็นเงิน3,000 บาท
    • ค่าจัดทำป้ายโครงการ ขนาด 1.4 x 3.00 เมตร เป็นเงิน1,050 บาท
    งบประมาณ 15,750.00 บาท
  • 5. จัดตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือ และติดตามหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนอย่างใกล้ชิด
    รายละเอียด

    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. กิจกรรมช่วยเหลือ รับ - ส่ง หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่เพื่อไปพบแพทย์
    รายละเอียด

    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน 50 คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 14 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 16,275.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนที่ต้องมา โรงพยาบาล 2 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครภ์และหลังคลอด 3 มีรถบริการรับ-ส่งหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางเพื่อไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง รหัส กปท. L4113

อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง รหัส กปท. L4113

อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 16,275.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................