2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth) หมายถึง การคลอดทารกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (American College of Obstetricians and Gynecologists, 2016) ในส่วนของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย ให้ความหมายว่า เป็นการคลอดทารกตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ 6 วัน (ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย, 2566) ในประเทศไทย พบว่า อัตราหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564 2565 และ 2566 เป็นร้อยละ 12.47 11.61 และ 10.32 ตามลำดับ ซึ่งยังสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย คือ ไม่เกินร้อยละ 9 (ระบบคลังข้อมูล สุขภาพ, 2566) ซึ่งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจของมารดา ทั้งยังเป็นสาเหตุการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรก ทารกที่คลอด ก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวน้อย อวัยวะต่างๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีประสิทธิภาพการทำงานไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา เช่น การขยายตัวของปอดไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาในการหายใจ มีปัญหา เลือดออกในสมอง เกิดการติดเชื้อ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายไม่ดี และสมองอาจมีความพิการได้ง่าย ทำให้ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลค่อนข้างสูง และยัง พบว่า มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายของทารกในระยะยาวอีกด้วย เช่น ทารกมี ปัญหาด้านสติปัญญา สายตา และมักมีสุขภาพไม่แข็งแรง
ปัจจุบันยังพบปัญหาหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นจำนวนมาก และจากข้อมูลที่ผ่านมาพบ
การคลอดในประเทศไทย ประมาณ 50,000 ราย พบอัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 10 ถึง 15 โดยเฉพาะหญิงวัยทำงานที่มีช่วงอายุ 20 ถึง 35 ปี ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์เนื่องจากขาดการศึกษา ไม่ตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด ขาดประสบการณ์ในการดูแลตนเอง หรือเป็นกลุ่มหญิงวัยทำงานที่ต้องทำงานหนักระหว่างการตั้งครรภ์
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง จึงได้
จัดทำโครงการ สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดประจำปีพ.ศ. 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด และส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักถึง อันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนของอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ต้องไปโรงพยาบาล รวมทั้งให้ความช่วยเหลือหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้และมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลได้ทันท่วงที
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 14/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดและสัญญาณเตือนที่ต้องมา โรงพยาบาล
2 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องการ ป้องกันดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครภ์และหลังคลอด
3 มีรถบริการรับ-ส่งหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางเพื่อไปพบแพทย์ตามนัดหรือเมื่อมีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด