กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันชีวิต สุขภาพจิตสดใส ห่างไกลซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน

1.นายอดิสรณ์ อุศนุน ตำแหน่ง ประธานกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน เบอร์โทรศัพท์ 080-4159836
2.นายอนาวิล หลงโสะ ตำแหน่ง รองประธานกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน เบอร์โทรศัพท์ 062-0127937
3.นางสาวนูรีย๊ะ นาฮูดา ตำแหน่ง เลขานุการกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน เบอร์โทรศัพท์ 063-9412579
4.นางสาวจิราภรณ์ หลังจิ ตำแหน่ง เหรัญญิกกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน เบอร์โทรศัพท์ 063-4926580
5.นายเฟาวริศ มรรคเขต ตำแหน่ง กรรมการกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน เบอร์โทรศัพท์ 093-1055645

ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งวิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

8.00

ปัจจุบันปัญหาโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของประเทศ และเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความซึมเศร้าและความเครียดเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกเวลา ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีความเครียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งในกลุ่มเยาวชนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังเบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิดการตัดสินใจ และการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของวัยรุ่นในประเทศไทย
เยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน ได้มองเห็นปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัย 10-15 ปี จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต สุขภาพจิตสดใส ห่างไกลซึมเศร้าขึ้น เพื่อค้นหาปัญหาสภาวะสุขภาพจิตในวัยรุ่น และแนะนำการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากลดลง

8.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประเมินสุขภาวะทางจิต

ชื่อกิจกรรม
การประเมินสุขภาวะทางจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำแบบประเมิน ประเมินแบบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นของกรมสุภาพจิต

งบประมาณ เป็นเงิน 160 บาท รายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าแบบประเมินภาวะซึมเศร้า จํานวน 40 ชุด ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นของกรมสุภาพจิต จำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
160.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำแบบประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม
  2. จัดอบรมในหัวข้อ

- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาการแสดงภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- การช่วยเหลือและการป้องกันกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะซึมเศร้า
- กลยุทธ์และวิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
3. ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรม

กำหนดการ
เวลา 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.30 - 09.00 น. เปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.00 - 12.00 น.
– จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน
- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ห่างไกลความเครียดและโรคซึมเศร้า
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาการแสดงภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ
เวลา 13.00 -15.00 น.
- การช่วยเหลือและการป้องกันกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะซึมเศร้า
- กลยุทธ์และวิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
เวลา 15.00 - 15.30 น. นำเสนอผลที่ได้จากกิจกรรม
เวลา 15.30 น. ปิดการอบรม
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00-10.15 น. และเวลา 14.00-14.15 น.

งบประมาณ รายละเอียดค่าใช้จ่าย เป็นเงิน 11,900 บาท
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 X 3 ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
5.ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป็นเงิน 2,200 บาท
5.1 ค่าสมุด ปากกา แฟ้มพลาสติก 40 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
5.2 กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เทปติดกระดาษ เป็นเงิน 1,000 บาท
6.ค่าเข้าเล่มจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,060.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
2. เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้


>