โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันชีวิต สุขภาพจิตสดใส ห่างไกลซึมเศร้า
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันชีวิต สุขภาพจิตสดใส ห่างไกลซึมเศร้า |
รหัสโครงการ | 68-L5307-2-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,060.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอดิสรณ์ อุศนุน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก | 8.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของประเทศ และเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความซึมเศร้าและความเครียดเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกเวลา ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีความเครียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งในกลุ่มเยาวชนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังเบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิดการตัดสินใจ และการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของวัยรุ่นในประเทศไทย
เยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน ได้มองเห็นปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัย 10-15 ปี จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต สุขภาพจิตสดใส ห่างไกลซึมเศร้าขึ้น เพื่อค้นหาปัญหาสภาวะสุขภาพจิตในวัยรุ่น และแนะนำการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละของเยาวชนที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมากลดลง |
8.00 | 5.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การประเมินสุขภาวะทางจิต | 0 | 160.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด | 0 | 11,900.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,060.00 | 0 | 0.00 |
- เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
- เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2568 00:00 น.