2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินและคัดกรองสุขภาพ จากการคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ จำนวน ๓๐๖ คนในปี ๒๕๖๗ มีผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓๑ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 37.69 ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้สูงอายุทำได้น้อยที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ 1) การมีกิจกรรมทางกาย 2) การกินผักและผลไม้ โรคที่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด ได้แก่ 1) ความดันโลหิตสูง 2) เบาหวาน 3) หลอดเลือดหัวใจและ 4) โรคหลอดเลือดสมองและสาเหตุการตายสูงที่สุดในผู้สูงอายุ คือโรคระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งประเด็นการดูแลผู้สูงอายุมีเป้าหมายในการลดภาวะพึ่งพิง จากการคัดกรองภาวะถดถอยในผู้สูงอายุ 9 ด้าน ในปี 2567 ได้ดำเนินการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การเคลื่อนไหว ปัญหาข้อเข่า ได้รับคัดกรองร้อยละ 67.73 พบผิดปกติ ร้อยละ 5.59 2) สุขภาพช่องปาก ได้รับการคัดกรองร้อยละ 67.99 พบผิดปกติ ร้อยละ 6.37กลุ่มรักษ์สุขภาพได้เห็นความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุในทุกระดับ ให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ดำรงชีวิตประจำวันได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นพลังทางสังคม” ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (ชะลอชรา ชีวายืนยาว) ปี 2568 เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่งเสริมให้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี และมีสุขภาวะ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่เป็นอยู่ ลดการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในชุมชน และสังคมต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 19/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/06/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง