กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด

หมู่ที่ 8, หมู่ที่9, หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

25.50

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือ โรค NCD (Non Communicable Diseases) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ในปี พ.ศ.2565 องค์การองค์การอนามัยโลก (WHO) รายการข้อมูลประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากร โดยโรค NCDsที่เป็นสาเหตุเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตกลุ่มอายุ 30 - 39 ปี หรือเรียกว่า “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร” มากถึง 17 ล้านคน ร้อยละ 84 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ในประเทศไทยโรค NCDs เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย ที่ก่อให้เกิดภาระโรคจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ภาวะเจ็บป่วยและทุพพลภาพที่ทำให้การทำงานลดลงหรือสูญเสียไปที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล สาเหตุการป่วยส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัวและสังคม กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายกำหนดให้ ประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานตามมาตรฐานจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน792 คนพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 211 คนคิดเป็นร้อยละ 26.64 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 2 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 11 คน จากการดำเนินงานของโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด ในปี 2568พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรดมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 213 คนผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 13 คนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 92 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้151 คน คิดเป็นร้อยละ 49.50ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 30.47 โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรดได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ จัดทำ “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี งบประมาณ 2568” ขึ้นเพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ลดร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

25.50 23.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 193
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ตำบลนาหว้า เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด
  2. กำหนดวัน เวลา สถานที่ในการจัดกิจกรรม
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  4. จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม จำนวน 24 ชุด (รพ.สต.ควนขี้แรด สนับสนุนงบประมาณ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2568 ถึง 5 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานการประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง ส่วนสูง วัดรอบเอว และวัดมวลไขมันในร่างกาย
  2. ทำแบบประเมินก่อนให้ความรู้
  3. จัดกิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการภาวะแทรกซ้อนของการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  4. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากต้นแบบสุขภาพ / นำเสนอ “เมนู ชูสุขภาพ”
  5. สอนนับคาร์บ โดย อสม. สาขาโรคไม่ติดเรื้อรัง
  6. ออกกำลังกายโดยแกนนำ อสม.
  7. ทำแบบประเมินหลังให้ความรู้

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าเครื่องวัดมวลไขมันในร่างกาย จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 9,000 บาท รวมเป็นเงิน 9,000 บาท

  2. ค่าวัดปริมาณความเค็มอาหาร จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,200 บาท รวมเป็นเงิน 2,200 บาท

  3. ค่าคู่มือการบันทึกดูแลสุขภาพ จำนวน 193 ชุด (รพ.สต.ควนขี้แรด สนับสนุนงบประมาณ)

  4. ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2.4 x 1.2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 432 บาท

  5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 193 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 5,790 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2568 ถึง 28 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17422.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน 3 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน 3 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชี้แจงและให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการติดตามกลุ่มเสี่ยง
  2. ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต รอบเอว และค่าน้ำตาลในเลือด (เฉพาะกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน)โดยติดตามทุก 1 เดือน/ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่ม จำนวน 37 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,110 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2568 ถึง 5 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการติดตามกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1110.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,532.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค
2. ผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>