กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 68-L5182-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,532.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 193 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
25.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือ โรค NCD (Non Communicable Diseases) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ในปี พ.ศ.2565 องค์การองค์การอนามัยโลก (WHO) รายการข้อมูลประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากร โดยโรค NCDsที่เป็นสาเหตุเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตกลุ่มอายุ 30 - 39 ปี หรือเรียกว่า “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร” มากถึง 17 ล้านคน ร้อยละ 84 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ในประเทศไทยโรค NCDs เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย ที่ก่อให้เกิดภาระโรคจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ภาวะเจ็บป่วยและทุพพลภาพที่ทำให้การทำงานลดลงหรือสูญเสียไปที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล สาเหตุการป่วยส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัวและสังคม กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายกำหนดให้ ประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานตามมาตรฐานจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน792 คนพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 211 คนคิดเป็นร้อยละ 26.64 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 2 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 11 คน จากการดำเนินงานของโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด ในปี 2568พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรดมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 213 คนผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 13 คนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 92 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้151 คน คิดเป็นร้อยละ 49.50ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 30.47 โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรดได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ จัดทำ “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี งบประมาณ 2568” ขึ้นเพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ลดร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

25.50 23.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,532.00 0 0.00
5 พ.ค. 68 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 -
28 พ.ค. 68 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 17,422.00 -
5 มิ.ย. 68 - 5 ก.ย. 68 ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน 3 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ 0 1,110.00 -
15 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  2. ผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2568 13:27 น.