กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมความรู้ ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาล ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อทอง

นายมะรอกี เวาะเลง

เทศบาลตำบลบ่อทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

 

80.00

การสุขาภิบาล เป็นวิธีการทางสุขอนามัยของการส่งเสริมสุขภาพ โดยผ่านการป้องกันมนุษย์มิให้สัมผัสกับภัยจากปฏิกูล โดยที่ภัยนั้นอาจเป็นทั้งตัวการของโรคทางกายภาพ,ทางจุลินทรีย์ชีวภาพ,ทางชีวภาพหรือทางเคมี สิ่งปฏิกูลที่สามารถก่อปัญหาสุขภาพได้ ได้แก่ อุจจาระของมนุษย์หรือมูลของสัตว์,ปฏิกูลของแข็ง,น้ำทิ้งจากครัวเรือน (น้ำเสีย,สิ่งโสโครก,ปฏิกูลอุตสาหกรรมปละปฏิกูลเกษตรกรรม,วิธีการทางสุขอนามัยในการป้องกันอาจเป็นการใช้วิธีการทางวิศวกรรม (เช่น การบำบัดน้ำเสีย,การบำบัดสิ่งปฏิกูล,การระบายน้ำท่วมจากพายุ,การจัดการปฏิกูลของแข็ง,การจัดการอุจจาระ) และองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยาม ”การสุขาภิบาลโดยทั่วไป” หมายถึง การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการสำหรับการกำจัดที่ปลอดภัยของปัสสาวะและอุจจาระขจองมนุษย์ และสาเหตุของการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค การปรับปรุงการสุขาภิบาลจึงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งในครัวเรือนและในชุมชน นอกจากนี้คำว่า การสุขาภิบาล ยังหมายถึงการบำรุงรักษาของสภาพทางสุขอนามัย ผ่านการบริการเช่น การเก็บขยะและการกำจัดน้ำเสีย อาหาร ร้านประกอบกิจการด้านอาหารจึงต้องคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัยมีคุณภาพตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน ฉะนั้นจึงมีการการควบคุมตรวจสอบคุฯภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกบริโภคร้านอาหารที่ปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสุขาภิบาลอาหาร และให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อทอง ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหารตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาลในเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงผู้ปรึงอาหารในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ่อทอง ให้ผู้บริโภคได้รับการบริการที่มีคุณภาพเกิดความเชื่อมั่นในความสะอาดปลอดภัยต่อสถานบริการ สถานปรุงอาหารในสถานศึกษา และศูนย์เด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ่อทอง ส่งผลให้ประชาชน เด็ก เยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

ประกอบกิจการด้านอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหารสถานประกอบกิจการด้านอาหาร

80.00 80.00

1 เพื่อให้ผู้ประกอบการกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร
2 เพื่อให้ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหารสถานประกอบกิจการด้านอาหาร 2 ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้สัมผัสอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหารสถานประกอบกิจการด้านอาหาร 2 ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร และผู้สัมผัสอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหารสถานประกอบกิจการด้านอาหาร
2 ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น


>