2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
องค์การบริหารส่วนตำบลละงูอำเภอละงู จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอละงู และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสตูล อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 75.14 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 47,587.50 ไร่ ไม่รวมพื้นที่ทะเล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน ต่อมาได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย และมีผลบังคับใช้ เมื่อปี 2542 องค์การบริหารส่วนตำบลละงูมีจำนวนประชากร 19,374 คน แยกเป็นชาย 9,613 คน และหญิง 9,761 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นทั้งหมด 5,456 ครัวเรือน (ฐานข้อมูล TCNAP 12 พฤศจิกายน 2564) ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอก รสชาติและราคาของอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่คนคำนึงถึงว่าตนจะเลือกบริโภคอาหารนั้นๆหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่จะได้รับและในวิถีชีวิตที่เร่งรีบนี้ ทำให้คนไม่มีโอกาสที่จะเลือกบริโภคอาหารให้ได้ครบตามความต้องการของร่างกาย และยังพบอีกว่า ร้านอาหาร และแผงลอยฯ ยังมีสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งด้านสุขาภิบาล และสุขวิทยาส่วนบุคคล อีกทั้ง ยังมีโรคระบาดเกี่ยวกับอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
ตำบลละงู มีแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 56 แผง และร้านอาหารจำนวน 25 ร้าน ซึ่งได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ยังมีแผงลอยที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 2.4 (ข้อมูลจากกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลละงู) และจากสถานการณ์การป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารของประชาชนตำบลละงู ในปี พ.ศ. 2567 พบผู้ป่วยจำนวน 986 ราย (จากข้อมูลรายงาน 504 ของรพ.สต.ในเขตตำบลละงู)
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้ได้บริโภคอาหารจากร้านค้าและแผงลอยที่สะอาดปลอดภัย ติดป้ายแสดงราคา ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณขยะ ด้วยเหตุนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ส่วนราชการ ภาคเอกชน และชมรมต่างๆ ในพื้นที่ จัดทำโครงการอาหารสะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2568
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 08/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหาร สุขวิทยาส่วนบุคคลและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย
2. ประชาชนตำบลละงูมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มจากร้านที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถต่อยอดขยายผลไปยังร้านอื่นๆให้ทั่วถึงต่อไป
3.เกิดร้านค้าต้นแบบที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารและเป็นต้นแบบให้ร้านค้าอื่นๆต่อไป