กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาตลาด สู่มาตรฐานตลาดน่าซื้อ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลละงูมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 76.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 47,587.50ไร่ (พื้นที่บกไม่รวมพื้นที่ทะเล) ประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 18 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมดจำนวน 23,231 คน เพศชาย จำนวน 11,454 คน เพศหญิง จำนวน 11,777 คน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ด้านการค้าขาย เกษตรกรรม ทำนา ทำสวน และรับจ้างทั่วไป โดยเฉพาะการประกอบอาชีพค้าขาย แบ่งออกเป็นการเปิดร้านประกอบกิจการที่บ้าน และเปิดร้านประกอบกิจการในพื้นที่สาธารณะ และการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคในตลาด
โดยเฉพาะตลาด เป็นแหล่งซื้อขายที่สำคัญเป็นที่นิยมของประชาชน มีการ ซื้อ-ขาย สินค้าที่หลากหลายทั้ง อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ ด้วยปัจจุบันมีจำนวนตลาดที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวก เข้าถึงง่าย อาจจะส่งผลให้กลายเป็นแหล่งของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพของผู้บริโภค รวมไปถึงสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบริเวณสถานที่ตั้งตลาดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และจากข้อมูลจำนวนตลาดในเขตพื้นที่ตำบลละงู มีจำนวน 6 แห่ง แบ่งเป็นตลาดสด 1 แห่ง คือ ตลาดสดสามแยกลาหงา หมู่ที่ 4 เปิดทำการทุกวัน และตลาดนัด 5 แห่ง ได้แก่ 1. ตลาดนัดเพิ่มพูนสุข หมู่ที่ 4 เปิดทำการวันศุกร์ 2. ตลาดนัดคลองขุด หมู่ที่ 9 เปิดทำการวันอังคาร 3. ตลาดนัดหนองปันหยา หมู่ที่ 2 เปิดทำการวันอังคาร และ 4. ตลาดนัดห้วยมะพร้าว หมู่ที่ 11 เปิดทำการวันอาทิตย์และวันพฤหัสบดี ที่มีการขายทั้งเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ อาหารสด อาหารพร้อมบริโภค มีทั้งการบรรจุในภาชนะมาพร้อมจำหน่าย มีการปรุงประกอบอาหาร ณ จุดจำหน่าย แต่สภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบริเวณสถานที่จัดตั้งตลาดยังไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น พื้นที่ตลาดเป็นพื้นดิน ที่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย มีน้ำขัง เป็นแหล่งของสัตว์พาหะนำโรค ขยะตกค้างมีกลิ่นเหม็น และผู้ขายของในตลาดส่วนใหญ่ไม่ผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งอาจมีพฤติกรรมในการปรุงประกอบและจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารแก่ผู้บริโภคได้
องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ในฐานะที่มีอำนาจหน้าที่ตามความในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา ๖๖ มีอำนาจหนาที่ในการพัฒนาตำบลทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (4) การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา ๖๘ (๗) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร และตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา 34 35 36 และ 37ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร และข้อบัญญัติตำบล พ.ศ.๒๕๔3 เรื่องตลาด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาตลาด สู่มาตรฐานตลาดน่าซื้อ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อใช้พื้นที่ตลาดนัดเพิ่มพูนสุข หมู่ที่ 4 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งมีจำนวนแผงลอย 66 แผง จำนวนผู้ประกอบการประมาณ 100 คน เป็นพื้นที่นำร่อง สู่การเป็นตลาดนัดน่าซื้อ โดยการให้ผู้ประกอบการ ผู้ค้า และผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดให้ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล และสร้างความตระหนักในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของตลาด อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยของผู้บริโภค และการพัฒนาตลาดให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างกฎระเบียบ กติกา ในการบังคับใช้ในพื้นที่แก่ผู้ประกอบการ และผู้ใช้ตลาด
  1. เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กติกา อย่างเคร่งครัดของตลาด
0.00
2 2. เพื่อยกระดับการบริหารจัดการตลาดให้มีสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล
  1. ตลาดที่เข้าร่วมโครงการมีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมคณะดำเนินงานโครงการ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
  2. ร่วมพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2568 ถึง 15 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และจัดทำบันทึกข้อตกลง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และจัดทำบันทึกข้อตกลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

- เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย
- เรื่องกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร - เรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลและทักษะในการปฏิบัติงานการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
  2. จัดทำบันทึกข้อตกลง MOU ระหว่างหน่วยงาน ผู้ประกอบการ และผู้ค้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2568 ถึง 15 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29175.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการตามแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการตามแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพแวดล้อม ของตลาด ครั้งที่ 1
  2. สรุปผลการตรวจสอบ และกำหนดระยะเวลา การปรับปรุง แก้ไข
  3. ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของตลาด ครั้งที่ 2 (หลังปรับปรุงแก้ไข)
  4. สรุปผลการตรวจสอบ
  5. ติดประกาศกฎระเบียบ กติกาของตลาด
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2568 ถึง 15 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1470.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตาม ประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การติดตาม ประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงพื้นที่ตรวจสอบตลาดและสุ่มตรวจผู้สัมผัสอาหารและคุณภาพอาหาร ทุกๆ 2 เดือน
  2. สรุปผลการตรวจสอบ เพื่อแจ้งไปยังผู้ประกอบการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11360.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ
  2. พูดคุยแลกเปลี่ยน/ถอดบทเรียนหลังจัดกิจกรรม
  3. จัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,655.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ตลาดที่เข้าร่วมโครงการได้รับมาตรฐาน สู่ตลาดน่าซื้อ
2. เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กติกา อย่างเคร่งครัดของตลาด
3. ตลาดที่เข้าร่วมโครงการมีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักสุขาภิบาล


>