แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
1.นางหทัยกาญจน์สันมาหมีน
2.นางสาวสุมาลินแคสนั่น
รพ.สต.บ้านนาทอนและพื้นที่ ม.1,ม.2,ม.3,ม.6 และ ม.7 ตำบลนาทอน
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
*สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจเอาละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นตำบลนาทอนก็เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราสวนปาล์มปลูกผักและทำไร่และยังคงมีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชอยู่ จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรตำบลนาทอนยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรงได้
*จากรายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอนได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2568ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับความรู้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่และรับการตรวจประเมินปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 01/06/2025
กำหนดเสร็จ : 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจและคำแนะนำเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และการเก็บสารเคมีให้ปลอดภัย ร้อยละ 100
2. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือด ร้อยละ 100
3. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดปริมาณสูง ได้ปรับพฤติกรรมตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 100