โครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L5294 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล |
วันที่อนุมัติ | 25 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางหทัยกาญจน์ สันมาหมีน, นางสาวสุมาลิน แคสนั่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | รพ.สต.บ้านนาทอนและพื้นที่ ม.1 ม.2 ม.3 ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
*สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจเอาละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นตำบลนาทอนก็เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราสวนปาล์มปลูกผักและทำไร่และยังคงมีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชอยู่ จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรตำบลนาทอนยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรงได้ *จากรายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอนได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2568ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับความรู้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่และรับการตรวจประเมินปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ความเข้าใจและคำแนะนำเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และการเก็บสารเคมีให้ปลอดภัย ข้อที่ 1 เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจและคำแนะนำเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และการเก็บสารเคมีให้ปลอดภัย ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือด ว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด ข้อที่ 2 เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือด ร้อยละ 100 |
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดปริมาณสูง ได้ปรับพฤติกรรมตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ข้อที่ 3 เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดปริมาณสูง ได้ปรับพฤติกรรมตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 19,700.00 | 0 | 0.00 | 19,700.00 | |
1 - 30 มิ.ย. 68 | ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม. | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6 และ ม.7 ตำบลนาทอน | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | สำรวจและคัดกรองเกษตรกรในพื้นที่ด้วยแบบคัดกรอง นบก.1-56 | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง | 0 | 19,700.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 19,700.00 | 0 | 0.00 | 19,700.00 |
- เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับความรู้ ความเข้าใจและคำแนะนำเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และการเก็บสารเคมีให้ปลอดภัย ร้อยละ 100
- เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการอบรม ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารเคมีในกระแสเลือด ร้อยละ 100
- เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดปริมาณสูง ได้ปรับพฤติกรรมตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 100
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 15:54 น.