กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

รพ.สต.ท่าไทร

รพ.สต.ท่าไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียด นอกจากนี้ประชาชนยังต้องป้องกันตนเองด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการวัดความดันโลหิตตรวจคัดกรองเบาหวาน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ท่าไทรตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2568มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน โรค ความดันโลหิตสูง จำนวน 623 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 217 คน โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จำนวน 44คนคิดเป็นร้อยละ 20.28 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี จำนวน 267 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.86 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่า HbA1C เกิน 7 % จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 49.38 และมีผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน จำนวน 15 คน จะเห็นได้ว่า คนไข้ควบคุมโรคได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในอนาคต จึงจำเป็นที่ต้องฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในภาวะปกติเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ดังนั้นเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเรื้อรังในผู้ป่วย รพ.สต.ท่าไทร จึงหาแนวทางในการให้ความรู้/ฟื้นฟู เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อสร้างความเข้าใจถึง สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความ ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอย่างเหมาะสม ใช้ยาอย่างเหมาะสม รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ และออกกำลังกาย เป็นประจำ อันเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางรพ.สต.ท่าไทร จึงได้จัดทำโครงการ การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ ผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังการอบรม

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการเฝ้า ระวังโรคด้วยตนเองที่บ้านได้

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายมีการทำ SMBP/SMBG

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน *  30 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท   - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล)ขนาด กว้าง 1 เมตร X ยาว 2 เมตร จำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน  500 บาท
      - ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาทX 2 รุ่น      เป็นเงิน   3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมการตรวจวัดความดันโลหิต/ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือดที่บ้านด้วยตนเองของผู้ป่วย(SMBP)

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมการตรวจวัดความดันโลหิต/ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือดที่บ้านด้วยตนเองของผู้ป่วย(SMBP)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบตั้งโต๊ะ จำนวน 12 เครื่อง X 2,790 บาท   เป็นเงิน 33,480 บาท   - ค่าเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด  จำนวน 12 เครื่อง X 1,890 บาท     เป็นเงิน  22,680 บาท   - ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 12 กล่อง กล่องละ 780 บาท    เป็นเงิน  9,360 บาท   - ค่าเข็มเจาะน้ำตาล T-PRO 200 ชิ้น จำนวน 4 กล่อง กล่องละ 790 บาท   เป็นเงิน  3,160 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
68680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน


>