กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 68-L5192-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 75,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะซอฟี ใบดามัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 เม.ย. 2568 9 พ.ค. 2568 75,780.00
รวมงบประมาณ 75,780.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลตนเองด้วยการ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคุมน้ำหนักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียด นอกจากนี้ประชาชนยังต้องป้องกันตนเองด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการวัดความดันโลหิตตรวจคัดกรองเบาหวาน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ท่าไทรตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2568มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน โรค ความดันโลหิตสูง จำนวน 623 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 217 คน โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จำนวน 44คนคิดเป็นร้อยละ 20.28 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี จำนวน 267 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.86 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่า HbA1C เกิน 7 % จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 49.38 และมีผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน จำนวน 15 คน จะเห็นได้ว่า คนไข้ควบคุมโรคได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในอนาคต จึงจำเป็นที่ต้องฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในภาวะปกติเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้ดังนั้นเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเรื้อรังในผู้ป่วย รพ.สต.ท่าไทร จึงหาแนวทางในการให้ความรู้/ฟื้นฟู เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อสร้างความเข้าใจถึง สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความ ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอย่างเหมาะสม ใช้ยาอย่างเหมาะสม รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ และออกกำลังกาย เป็นประจำ อันเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางรพ.สต.ท่าไทร จึงได้จัดทำโครงการ การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและให้ ผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคความดัน โลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังการอบรม

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการเฝ้า ระวังโรคด้วยตนเองที่บ้านได้

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายมีการทำ SMBP/SMBG

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 2. กิจกรรมการตรวจวัดความดันโลหิต/ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือดที่บ้านด้วยตนเองของผู้ป่วย(SMBP) 0 68,680.00 -
1 - 30 พ.ค. 68 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแล 0 7,100.00 -
รวม 0 75,780.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2568 10:17 น.