กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพและสุขศึกษาห่างไกลโรค NCD

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเปาะเส้ง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและมะเร็ง กลายเป็นภัยระบาดเงียบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ที่สามารถทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เช่น หัวใจวาย ไตวาย เส้นเลือดในสมองตีบแตกเกิดอัมพาต และประสาทตาเสื่อมมัว โรคเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการทานยาตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างมหาศาล จึงทำให้ประเทศต้องมีนโยบายในการป้องกันควบคุมโรคเหล่านี้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงในประชากรไทย
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกรรมพันธุ์อายุและปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่นความอ้วน , ความเครียด , ขาดการออกกำลังกาย , การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วนการดื่มสุราสูบบุหรี่ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าวร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้นคือ๓๕ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิตหรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
ซึ่งจากข้อมูลสุขภาพ การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง ปีงบประมาณ 2567 พบว่า ประชานชนที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน มีน้ำตาลปกติ ร้อยละ 70.59 เสี่ยงร้อยละ 10.83 สงสัยป่วยร้อยละ 29.41 และป่วยเป็นโรครายใหม่ จำนวน 5 รายและประชาชนที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปกติร้อยละ 68.43 เสี่ยงร้อยละ 28 สงสัยป่วยร้อยละ 3.57 ดังนั้น หากประชาชนในกลุ่มต่างๆปฏิบัติตัวยังไม่ถูกต้อง หรือขาดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และขาดความรอบรู้/ตระหนัก ในการจัดการพฤติกรรมสุขภาวะตนเองแล้ว จะส่งผลให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ประกอบกับประชาชนยังขาดการเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพ และขาดการจัดการสุขภาพของชุมชนโดยชุมชนเองในการดูแลหรือบริการอย่างต่อเนื่องและใกล้บ้านใกล้ใจ ไม่ว่าจะเป็น จุด/สถานที่ให้บริการหรือร่วมจัดการด้านสุขภาพในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพห่างไกลโรค NCD ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ใกล้บ้านใกล้ใจ และสามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองได้เบื้องต้น มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วย มีความรอบรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2.เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพในการบริการและจัดการด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการของชุมชนโดยชุมชน
3.เพื่อส่งเสริมการเกิดกลไกจัดการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบห่างไกลโรค NCD

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนกลุ่มเสี่ยง และแกนนำ 30
ตัวแทนกลุ่มเสี่ยงหมู่ 1-4 หมู่ 7 คน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน × 30 บาท × 2 มื้อเป็นเงิน 3,000.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ×70 บาท เป็นเงิน 3,500.- บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน340.- บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน ขนาด 1 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 1,000.- บาท รวมเป็นเงิน 10,240.- บาท หมายเหตุ ทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10240.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วย

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (เช่น ค่าอุปกรณ์สำนักงาน)    เป็นเงิน  4,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งระบบการดูแลผู้ป่วย NCD “Health station” (สถานีสุขภาพ) ในชุมชนโดยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบการดูแลผู้ป่วย NCD “Health station” (สถานีสุขภาพ) ในชุมชนโดยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องตรวจวัดมวลร่างกาย Body Composition จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 6,500.- บาท
  • ค่าโฟมบอร์ดและ สื่อความรู้ จำนวน 5 ป้ายๆละ 200 บาท        เป็นเงิน 1,000.- บาท   รวมเป็นเงิน   7,500.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตามประเมินผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 4 ครั้ง/ปี

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 4 ครั้ง/ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน × 30 บาท × 4 มื้อ  เป็นเงิน   6,000.-  บาท รวมเป็นเงิน   6,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปถอดบทเรียนโครงการ ทุก 6 เดือน เป็นจำนวน 2 ครั้ง/ปี

ชื่อกิจกรรม
สรุปถอดบทเรียนโครงการ ทุก 6 เดือน เป็นจำนวน 2 ครั้ง/ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน × 30 บาท × 2 มื้อ         เป็นเงิน   3,000.- บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ×  70  บาท × 2 มื้อ               เป็นเงิน   7,000.- บาท    รวมเป็นเงิน 10,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในชุมชนมีความรอบรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนัก สามารถดูแลและจัดการสุขภาพตนเองสามารถคัดกรองภาวะสุขภาพด้วยตนเองได้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยสามารถดูแลตนเอง และปรับพฤติกรรมโดยไม่เป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในชุมชน (ใกล้บ้าน ใกล้ใจ) ได้ทั่วถึง ช่วยประหยัดงบประมาณของครัวเรือนในการเดินทาง และได้รับการดูแลจากชุมชนโดยทีมคณะทำงานของชุมชนเองอย่างมีประสิทธิภาพ


>