กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพและสุขศึกษาห่างไกลโรค NCD
รหัสโครงการ 68-L4136-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเปาะเส้ง
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 37,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัฒน์ ปารามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและมะเร็ง กลายเป็นภัยระบาดเงียบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ที่สามารถทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เช่น หัวใจวาย ไตวาย เส้นเลือดในสมองตีบแตกเกิดอัมพาต และประสาทตาเสื่อมมัว โรคเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการทานยาตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างมหาศาล จึงทำให้ประเทศต้องมีนโยบายในการป้องกันควบคุมโรคเหล่านี้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงในประชากรไทย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกรรมพันธุ์อายุและปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่นความอ้วน , ความเครียด , ขาดการออกกำลังกาย , การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วนการดื่มสุราสูบบุหรี่ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าวร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้นคือ๓๕ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิตหรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสุขภาพ การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง ปีงบประมาณ 2567 พบว่า ประชานชนที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน มีน้ำตาลปกติ ร้อยละ 70.59 เสี่ยงร้อยละ 10.83 สงสัยป่วยร้อยละ 29.41 และป่วยเป็นโรครายใหม่ จำนวน 5 รายและประชาชนที่ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปกติร้อยละ 68.43 เสี่ยงร้อยละ 28 สงสัยป่วยร้อยละ 3.57 ดังนั้น หากประชาชนในกลุ่มต่างๆปฏิบัติตัวยังไม่ถูกต้อง หรือขาดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และขาดความรอบรู้/ตระหนัก ในการจัดการพฤติกรรมสุขภาวะตนเองแล้ว จะส่งผลให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ประกอบกับประชาชนยังขาดการเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพ และขาดการจัดการสุขภาพของชุมชนโดยชุมชนเองในการดูแลหรือบริการอย่างต่อเนื่องและใกล้บ้านใกล้ใจ ไม่ว่าจะเป็น จุด/สถานที่ให้บริการหรือร่วมจัดการด้านสุขภาพในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนต้นแบบจัดการสุขภาพห่างไกลโรค NCD ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ใกล้บ้านใกล้ใจ และสามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองได้เบื้องต้น มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 37,740.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในชุมชน 50 10,240.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยงและผู้สงสัยป่วย 0 4,000.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 จัดตั้งระบบการดูแลผู้ป่วย NCD “Health station” (สถานีสุขภาพ) ในชุมชนโดยชุมชน 0 7,500.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 การติดตามประเมินผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 4 ครั้ง/ปี 0 6,000.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 สรุปถอดบทเรียนโครงการ ทุก 6 เดือน เป็นจำนวน 2 ครั้ง/ปี 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในชุมชนมีความรอบรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนัก สามารถดูแลและจัดการสุขภาพตนเองสามารถคัดกรองภาวะสุขภาพด้วยตนเองได้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยสามารถดูแลตนเอง และปรับพฤติกรรมโดยไม่เป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในชุมชน (ใกล้บ้าน ใกล้ใจ) ได้ทั่วถึง ช่วยประหยัดงบประมาณของครัวเรือนในการเดินทาง และได้รับการดูแลจากชุมชนโดยทีมคณะทำงานของชุมชนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 00:00 น.