2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 หมวด 2 มาตรา 16 (17) (19) ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในห้องถิ่นของตน โดยเฉพาะหน้าที่การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว รวมทั้งกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหน้าที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ.2562 ) มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และสำหรับด้านสุขภาพของประชาชนการได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ในชุมชนชันนับว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อช้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ จึงได้จัดทำโครงการควบควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ "โรคไข้เลือดออก" ก่อนฤดูการระบาดเพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. สามารถกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อทำการขยายพันธ์ได้
2. สามารถป้องกันและควบคุมให้มีการแพรระบาดของโรคใช้เดือดออกในพื้นที่
3. ประซาชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก