โครงการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | L6959-68-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 122,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววนิดา วาเต๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 7516 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 หมวด 2 มาตรา 16 (17) (19) ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในห้องถิ่นของตน โดยเฉพาะหน้าที่การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว รวมทั้งกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหน้าที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ.2562 ) มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และสำหรับด้านสุขภาพของประชาชนการได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาใช้ในชุมชนชันนับว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อช้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ จึงได้จัดทำโครงการควบควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ "โรคไข้เลือดออก" ก่อนฤดูการระบาดเพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อทำการขยายพันธ์ต่อไปได้อีก
|
80.00 | |
2 | เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมให้มีการแพรระบาดของโรคใช้เดือดออกในพื้นที่
|
80.00 | |
3 | เพื่อให้ประซาชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
|
80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายช่วงก่อนเปิดภาคเรียน | 0 | 122,800.00 | - | ||
รวม | 0 | 122,800.00 | 0 | 0.00 |
- สามารถกำจัดยุงลายไม่ให้ไปแพร่เชื้อทำการขยายพันธ์ได้
- สามารถป้องกันและควบคุมให้มีการแพรระบาดของโรคใช้เดือดออกในพื้นที่
- ประซาชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2568 15:33 น.