กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพเด็กดี พัฒนาการสมวัย ไร้ซีด ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่าง มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคืออนามัยแม่และเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในแผนงานสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขนโยบายสร้างสุขภาพแห่งชาติมีประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังนั้นอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะ ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญ ของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณสังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุด ในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ2ปีแรกของชีวิตเป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาในเด็กแรกเกิด-72เดือน เด็กที่ขาดสารอาหาร มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วย ส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักทำให้เกิดภาวะเตี้ยรวมทั้งพัฒนาการล่าช้าลดทอนการเรียนรู้ในวัยเด็กและพัฒนาการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและโอกาสที่ดีในอนาคต ปัญหาทางโภชนาการที่พบในเด็กในตำบลลุโบะสาวอได้แก่ ภาวะเตี้ย ร้อยละ15.53 (ไม่เกินร้อยละ 9.5 ) ภาวะผอม ร้อยละ 6(ไม่เกินร้อยละ 5 ) รูปร่างดีสมส่วน ร้อยละ 56.02 (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 66.6 ) อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีน เด็กอายุครบ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 38 .30, อายุครบ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.33 ,อายุครบ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.75 และเด็กอายุครบ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.75 พบว่าอัตราความครอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์
ดังนั้น ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ได้เล็งเห็นความสำคัญส่งเสริมสุขภาพเด็กดี การได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ และเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการดีสมวัย ไร้ซีด ในเด็กอายุแรกเกิด-72 เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ไร้ซีด ปี 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน และมีพัฒนาการที่ดี สมวัย ไร้ซีด

 

0.00
4 เพื่อให้เด็กแรกเกิด- 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

 

0.00
5 เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน ในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ (น้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ย ผอม ค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างเตี้ย และอ้วน) และตระหนักพาบุตรมารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด- 72 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด- 72 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 7 กรกฎาคม2568 (กลุ่มเป้าหมาย จำนวน50คน) 1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด(3 เมตร1.5 เมตร)250เป็นเงิน1,125.- บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 2.30 ชั่วโมงๆ ละ600.-บาทเป็นเงิน1,500.- บาท 3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน3,000.-บาท 4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน2,500.-บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม ชุดละ 50 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน2,500.-บาท รวมเป็นเงิน10,625.-บาท วันที่ 10 กรกฎาคม2568 (กลุ่มเป้าหมาย จำนวน50คน) 1. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 2.30 ชั่วโมงๆ ละ600.-บาทเป็นเงิน1,500.-บาท 2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน3,000.-บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน2,500.-บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม ชุดละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน2,500.-บาท รวมเป็นเงิน9,500.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,125.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20125.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์) และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ (0-1 ปี ,1 ปีครึ่ง- 2 ปี ครึ่ง , 4 ปี – 5 ปี )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์) และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ (0-1 ปี ,1 ปีครึ่ง- 2 ปี ครึ่ง , 4 ปี – 5 ปี )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้ออาหารเสริม (นม) สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์       - ค่าอาหารเสริม (นม) สำหรับเด็กเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์
    จำนวน 40 คน x 15 บ. X 30 วัน   เป็นเงิน 18,000.- บาท รวมเป็นเงิน 18,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนักและฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด - 72 เดือน โดยเจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนักและฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด - 72 เดือน โดยเจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด - 72 เดือนและติดตามวัคซีน(สมุดสีชมพู) ในชุมชน ทุก 3 เดือน โดยภาคีเครือข่าย ทุกหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน 3.2 ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด - 72 เดือน ทีมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุกคน เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการชั่งน้ำหนัก ทุก 1 เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของภาวะทุพโภชนาการ โดยภาคีเครือข่าย -ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลสำหรับชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-6 ปี จำนวน 4 ชุด (หมู่บ้านละ1ชุด) x 2,180 บาท = 8,720.- บาท
รวมเป็นเงิน 8,720  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,845.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุแรกเกิด -72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการขาดวัคซีนในเด็กแรกเกิด -72 เดือน ลดลง
3. เด็กอายุแรกเกิด -72 เดือนส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน
4. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กหลังได้รับวัคซีน ด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย ไร้ซีด


>