โครงการสุขภาพเด็กดี พัฒนาการสมวัย ไร้ซีด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพเด็กดี พัฒนาการสมวัย ไร้ซีด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | L6959-68-2-68 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 46,845.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนิเฮง ซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่าง มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคืออนามัยแม่และเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในแผนงานสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขนโยบายสร้างสุขภาพแห่งชาติมีประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังนั้นอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะ ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญ ของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณสังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุด ในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ2ปีแรกของชีวิตเป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาในเด็กแรกเกิด-72เดือน เด็กที่ขาดสารอาหาร มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วย ส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักทำให้เกิดภาวะเตี้ยรวมทั้งพัฒนาการล่าช้าลดทอนการเรียนรู้ในวัยเด็กและพัฒนาการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและโอกาสที่ดีในอนาคต ปัญหาทางโภชนาการที่พบในเด็กในตำบลลุโบะสาวอได้แก่ ภาวะเตี้ย ร้อยละ15.53 (ไม่เกินร้อยละ 9.5 ) ภาวะผอม ร้อยละ 6(ไม่เกินร้อยละ 5 ) รูปร่างดีสมส่วน ร้อยละ 56.02 (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 66.6 ) อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีน เด็กอายุครบ 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 38 .30, อายุครบ 2 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.33 ,อายุครบ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.75 และเด็กอายุครบ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.75 พบว่าอัตราความครอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้น ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ได้เล็งเห็นความสำคัญส่งเสริมสุขภาพเด็กดี การได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ และเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการดีสมวัย ไร้ซีด ในเด็กอายุแรกเกิด-72 เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเด็กสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ไร้ซีด ปี 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ
|
0.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน และมีพัฒนาการที่ดี สมวัย ไร้ซีด
|
0.00 | |
4 | เพื่อให้เด็กแรกเกิด- 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ
|
0.00 | |
5 | เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด -72 เดือน ในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ (น้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ย ผอม ค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างเตี้ย และอ้วน) และตระหนักพาบุตรมารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาเด็กแรกเกิด-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์) และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ (0-1 ปี ,1 ปีครึ่ง- 2 ปี ครึ่ง , 4 ปี – 5 ปี ) | 0 | 18,000.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนักและฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด - 72 เดือน โดยเจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่าย | 0 | 8,720.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด- 72 เดือน | 0 | 20,125.00 | - | ||
รวม | 0 | 46,845.00 | 0 | 0.00 |
- เด็กอายุแรกเกิด -72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
- ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการขาดวัคซีนในเด็กแรกเกิด -72 เดือน ลดลง
- เด็กอายุแรกเกิด -72 เดือนส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กหลังได้รับวัคซีน ด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย ไร้ซีด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 10:13 น.