กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสายใยรักผูกพันธ์ คุณแม่สุขภาพดีลูกร่างกายแข็งแรง ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก
เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวะคลอดก่อนกำหนด ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ส่งผลกระทบต่อตั้งครรภ์ลทารกในครรภ์ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็กในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด
จากรายงานการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ในปีงบประมาณ 2567 พบว่า จำนวนหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์มีจำนวนทั้งสิ้น 87 คน ซึ่งร้อยละ 91.23 มารับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 88.89 มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ และร้อยละ 15.25 มีภาวะโลหิตจางครั้งแรกที่มารับบริการฝากครรภ์ร้อยละ 13.73มีภาวะโลหิตจางครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไปร้อยละ 3.44มีภาวะโลหิตจางครั้งที่ 3 จากการตรวจ ณ ห้องคลอดซึ่งในตัวชี้วัดระดับจังหวัดได้กำหนดอัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 14 จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 16.64 จากจำนวนหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ทั้งหมด และการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พบว่าปัญหาสุขภาพช่องปากและการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและ สุขภาพโดยรวม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสพบปัญหาสุขภาพช่องปาก จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาและฮอร์โมน หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์มี ความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ สุขภาพของเด็กในครรภ์และการคลอด โรคฟันผุยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมการแปรงฟัน การรับประทานอาหาร และปัจจัยอื่น ๆ ร่วมกับการเข้าถึงบริการของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ในเขตลุโบะสาวอได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567ร้อยละ 96.55 พบปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์82 คน ร้อยละ 94.25 ได้รับการขัดทำความสะอาดฟัน (ไตรมาส 4 ) 48 คน ร้อยละ 55.17ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอดและการดูแล เด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญ เป็นรากฐานให้เกิดการมีสุขภาพช่องปากและสุขภาวะที่ดี ตลอดจนลดโอกาส เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและการสูญเสียฟันในอนาคตได้
เพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างคลอด และหลัง
คลอด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอจึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการในการดูแลหญิงมีครรภ์ โดยต้องได้รับการดูแลฝากครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและมีประสิทธิภาพ ได้รับการตรวจและขัดทำความสะอาดฟันในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตมารดาและทารกมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ จนถึงสิ้นสุดการตั้งครรภ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงมีครรภ์รายใหม่ได้รับการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงและแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที

 

0.00
3 เพื่อช่วยลดอัตราป่วยตายและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนในระยะของการตั้งครรภ์

 

0.00
4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย

 

0.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามีและผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของ ตนเองและบุตร

 

0.00
6 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้ทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเองและรับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ เรื่องการตั้งครรภ์ในทรรศนะของศาสนาอิสลาม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ เรื่องการตั้งครรภ์ในทรรศนะของศาสนาอิสลาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด(3 เมตร1.5 เมตร)250              เป็นเงิน  1,125.-บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 2.30 ชั่วโมงๆ ละ  600.-บาท    เป็นเงิน  3,000.-บาท
  3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท จำนวน 50 คน          เป็นเงิน  3,000.-บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จำนวน 50 คน        เป็นเงิน  2,500.-บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์อบรม                        เป็นเงิน  4,500.-บาท
  6. ค่าชุดอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปาก                 เป็นเงิน  2,500.-บาท                                                                                                   รวมเป็นเงิน  16,625.-บาท        วันที่ 14 สิงหาคม 2568  (กลุ่มเป้าหมาย จำนวน  50  คน)
  7. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 2.30 ชั่วโมงๆ ละ  600.-บาท    เป็นเงิน  3,000.-บาท
  8. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท จำนวน 50 คน          เป็นเงิน  3,000.-บาท
  9. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท จำนวน 50 คน        เป็นเงิน  2,500.-บาท
  10. ค่าชุดอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปาก                เป็นเงิน  2,500.-บาท                                                                                           รวมเป็นเงิน  11,000.-บาท รวมเป็นเงิน    27,625.- บาท  (เงินสองหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27625.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ จ่ายอาหารเสริมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและเสี่ยงต่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ จ่ายอาหารเสริมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและเสี่ยงต่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุนมเสริมธาตุเหล็กสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและเสี่ยงต่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500  กรัม  13 คน x 30 กล่องๆละ 23 บาท                                             เป็นเงิน 8,970.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8970.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หญิงมีครรภ์รับรู้และตระหนักถึงภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ และสามารถเข้ารับบริการดูแลโดย
เจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพก่อนคลอด นอกจากนี้ยังสามารถลดอัตรามารดามีภาวะโลหิตจางและอัตราป่วยตายของทารกแรกคลอดอีกด้วย พร้อมด้วยหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกราย มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปาก และสามารถไปปฏิบัติในตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง


>