2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สุขภาพของเด็กวัยเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ปัจจุบันประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาสุขภาพของเด็กในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันผุ การดูแลสุขอนามัยที่ไม่ถูกต้อง และปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กไทยและเช่นเดียวกัน จากการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติพบว่า เด็กวัยเรียนในช่วงอายุ 6-12 ปี มีอัตราการเกิดฟันผุสูง โดยมีปัจจัยหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนม ลูกอม และน้ำอัดลม ร่วมกับการขาดความรู้ในการแปรงฟันที่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ ปัญหาทุพโภชนาการก็ยังเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ จากข้อมูลปี 2567 เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กไทย พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีภาวะทุพโภชนาการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 12.9 ภาวะผอม ร้อยละ 5.2 เด็กบางกลุ่มได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือเติบโตไม่เต็มศักยภาพ ขณะที่เด็กอีกกลุ่มหนึ่งกลับมีภาวะโภชนาการเกิน อันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดความเข้าใจเรื่องโภชนาการที่ดี
ในระดับโรงเรียน ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนยังคงเป็นที่น่ากังวล จากการสำรวจน้ำหนักส่วนสูงของนักเรียนโรงเรียนบ้านดูสน มีนักเรียนที่สูงดีสมส่วนอยู่เพียงร้อยละ 61.54 เท่านั้น โดยร้อยละ 26.09 มีภาวะผอมถึงค่อนข้างผอม, ร้อยละ 8.7 มีภาวะท้วมไปถึงอ้วน และจากการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนพบว่า นักเรียนที่มีปัญหาฟันผุและปัญหาด้านทันตสุขบัญญัติตามสถิติย้อนหลัง ปี 2566 และ 2567 คิดเป็นร้อยละ 67.20 และ 63.50 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ การขาดความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องทำให้เด็กบางส่วนบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารขยะ และอาหารที่มีน้ำตาลสูง ส่งผลให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการทั้งภาวะขาดสารอาหารและภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังในอนาคตนอกจากปัญหาสุขภาพช่องปากและโภชนาการแล้ว ปัญหาความสะอาดของเส้นผมและการแพร่ระบาดของเหาในเด็กนักเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย อันเนื่องมาจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ขาดความรู้ในการดูแลเส้นผมที่ถูกต้อง และการป้องกันที่ไม่เหมาะสมจากการสำรวจพบว่ามีนักเรียนหญิงในโรงเรียนบ้านดูสน ร้อยละ 40.82 มีปัญหาเหาและการดูและความสะอาดของเส้นผม ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขอนามัยของเด็ก แต่ยังทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง และอาจเป็นสาเหตุของการขาดเรียน
จากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความรู้ด้านสุขอนามัยและโภชนาการ โดยจัดทำโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง อาหารดี แปรงฟันถูกวิธี และผมสะอาดปราศจากเหา เพื่อให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การแปรงฟันที่ถูกต้อง และการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพฟัน, หลักโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก, วิธีดูแลเส้นผมให้สะอาดปราศจากเหาและแนวทางป้องกันการแพร่กระจายของเหาภายในโรงเรียนโครงการนี้จะช่วยให้เด็กนักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง ลดอัตราการเกิดฟันผุการขาดสารอาหาร และการแพร่ระบาดของเหา ทำให้พวกเขามีความมั่นใจในตนเอง พร้อมสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความรู้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี
2. นักเรียนโรงเรียนบ้านดูสน มีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง ฟันผุลดลง
3. นักเรียนรักษาเหาจนหาย
4. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของอาหารดี