กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนสีขาวเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และทักษะชีวิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

โรงเรียนบ้านปะแดลางา

1.นายหนิมะเดหนิ
2.นางสาวฮุสนาดือเระ

โรงเรียนบ้านปะแดลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

 

1.00

ยาเสพติดถือว่าเป็นปัญหาด้านความมั่นคงและปัญหาความปลอดภัยปัญหาหนึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างหลักของปัญหายาเสพติด พบว่ามีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑) ปัญหาการลักลอบปลูกพืชเสพติด ๒) ปัญหาการนำเข้ายาเสพติด และ ๓) ปัญหาการค้าและแพร่ระบาด
ยาเสพติด นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพยาเสพติดอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วย
ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มรุนแรงและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงให้มี
การสร้างสถานการณ์ความรุนแรง โดยมีเป้าหมายให้เกิดความสูญเสียต่อเจ้าหน้าที่รัฐ พื้นที่เศรษฐกิจและ
ความสงบสุขในชุมชนเมือง เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายการพัฒนา ทั้งนี้การแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ว่าจะเป็นพื้นที่
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือทั้งประเทศ จำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนมีกลไก
ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม จริงจังและมีความต่อเนื่อง ที่สำคัญปัญหา
ยาเสพติดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งทางด้านการป้องกัน ปราบปราม บำบัด
จึงจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและขจัด
ยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านปะแดลางาเป็นโรงเรียนที่ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ แล้ว
ร้อยละ ๑๐๐แต่จากการสอบถามและสัมภาษณ์นักเรียนและผู้ปกครอง ยังพบว่าสมาชิกในครอบครัวของนักเรียน
ที่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า มีอยู่ประมาณ ร้อยละ ๕๘และมีสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนที่ยุ่งเกี่ยวกับ
ยาเสพติดประเภทอื่นๆ ได้แก่ น้ำกระท่อม, บารากุ, ๔x๑๐๐ ซึ่งกำลังระบาดอย่างหนักในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้และในตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ก็มีการจับกุมและล่อซื้อในหลายๆคดี พบว่ามีผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนประมาณร้อยละ ๒๐บุคคลที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหวยใต้ดิน เล่นการพนันมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๕ ซึ่งเมื่อมองจากปัญหาแล้ว ถึงแม้นในโรงเรียนบ้านปะแดลางาจะปลอดจากอบายมุขต่าง ๆ ร้อยละ ๑๐๐ แต่ทางโรงเรียนก็เป็นกังวลกับสภาพในครอบครัวของนักเรียนและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ ทางโรงเรียนจึงต้องมีนโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้คนรอบๆ ตัวนักเรียนลด ละ เลิกยาเสพติดและอบายมุขให้มากที่สุด เพราะทางโรงเรียนเล็งเห็นว่าการที่สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนดี นักเรียนที่อาศัยอยูก็จะดีด้วยเป็นสัจธรรม
ปัญหาของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนนั้นสำคัญมาก เพราะหากปัญหาของ
การแพร่ระบาดยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ยังคงมีอยู่ นักเรียนหรือบุคลากรในโรงเรียนที่มีความเข้มแข็งในจิตใจอยู่น้อยอาจพลาดพลั้งเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสักวัน หรือก่อให้เกิดผลต่างๆ ดังนี้ ๑). นักเรียนจะมีสภาพชีวิตที่ไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดโรค มีความวิตกกังวล ขาดแคลนเงินใช้จ่ายในครอบครัว ก่อเกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การไม่ได้เรียนต่อ ไม่มีอาชีพ และเกิดวังวนของการมั่วสุมกับอบายมุขต่างๆ ในอนาคตได้ ๒). โรงเรียนมีความกังวลและต้องหาแนวทางในการป้องกัน เฝ้าระวังไม่ให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขต่างๆ เพิ่มภาระงานให้กับการจัดการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอาจตกต่ำลง เพราะปัญหาครอบครัว ๓). ครอบครัวของนักเรียนมีความยากลำบากในการครองชีพ เพราะสมาชิกในบ้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในทางที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น อาจเกิดโรคและต้องเสียค่าดูแลสุขภาพ เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกัน การแยกทางกันของพ่อแม่จะทำให้กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา ๔). ชุมชนมีปัญหายาเสพติดและอบายมุขจะทำให้ชุมชนนั้นๆ
ไม่เกิดการพัฒนา ไร้ความเจริญ ขาดการศึกษา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตต่ำลง และเกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ
ในชุมชนได้
จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน นับว่ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ
ในกลุ่มเด็กที่ขาดความรู้ในเรื่องของยาเสพติดและสารเสพติดก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้นเด็กและเยาวชนจึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ ให้ความรู้เป็นเกราะป้องกันตัว และสร้างภูมิคุ้มกันในชีวิตเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งปวง
ทางโรงเรียนบ้านปะแดลางา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดประสบการณ์ ให้ความรู้ และสนับสนุนให้นักเรียนได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการเรียนรู้ที่โรงเรียน หรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับยาเสพติด
ส่งต่อไปยังครอบครัว ชุมชน เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและร่วมกันต่อต้านยาเสพติดและอบายมุขทั้งหลายอีกด้วย โดยบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่ปรึกษา ภาคีเครือข่าย และนักเรียนที่เป็นแกนนำเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้คำปรึกษา ตักเตือน คอยกระตุ้น ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันควบคู่ด้วยคุณธรรมไม่ฝักใฝ่อบายมุขและสร้างปัญหาให้กับสังคม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปมีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่ปรึกษา ภาคีเครือข่าย และนักเรียนที่เป็นแกนนำเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้คำปรึกษา ตักเตือน คอยกระตุ้น ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันควบคู่ด้วยคุณธรรมไม่ฝักใฝ่อบายมุขและสร้างปัญหาให้กับสังคม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

1.00 3.00

1. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ไม่ติดยาเสพติดและปลอดอบายมุข
2. เพื่อให้ชุมชนเข้าใจและร่วมคิด ร่วมทำ รณรงค์ ป้องกัน การแพร่ระบาดของสารเสพติดและอบายมุข
ต่างๆ ในโรงเรียน
3. เพื่อให้โรงเรียนและชุมชน เข้าสู่สังคมที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีชีวิตที่สงบสุขแบบยั่งยืน
4. เพื่อให้สถานศึกษาเป็น “โรงเรียนสีขาว” ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ
5. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ แก่นักเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 132
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ไม่ติดยาเสพติดและปลอดอบายมุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สื่อประชาสัมพันธ์ในการป้องกันยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs เพื่อการประชาสัมพันธ์โดยนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ไม่ติดยาเสพติดและปลอดอบายมุข
    ๒. ชุมชนเข้าใจและร่วมคิด ร่วมทำ รณรงค์ ป้องกัน การแพร่ระบาดของสารเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ในโรงเรียน
  2. โรงเรียนและชุมชน เข้าสู่สังคมที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีชีวิตที่สงบสุขแบบยั่งยืน
  3. สถานศึกษาเป็น “โรงเรียนสีขาว” ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ
  4. นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันยาเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>