กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนสีขาวเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และทักษะชีวิต
รหัสโครงการ 68-L7012-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปะแดลางา
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮุสนา ดือเระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปะแดลางา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยาเสพติดถือว่าเป็นปัญหาด้านความมั่นคงและปัญหาความปลอดภัยปัญหาหนึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างหลักของปัญหายาเสพติด พบว่ามีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑) ปัญหาการลักลอบปลูกพืชเสพติด ๒) ปัญหาการนำเข้ายาเสพติด และ ๓) ปัญหาการค้าและแพร่ระบาด ยาเสพติด นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพยาเสพติดอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วย ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มรุนแรงและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงให้มี การสร้างสถานการณ์ความรุนแรง โดยมีเป้าหมายให้เกิดความสูญเสียต่อเจ้าหน้าที่รัฐ พื้นที่เศรษฐกิจและ ความสงบสุขในชุมชนเมือง เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายการพัฒนา ทั้งนี้การแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือทั้งประเทศ จำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนมีกลไก ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม จริงจังและมีความต่อเนื่อง ที่สำคัญปัญหา ยาเสพติดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งทางด้านการป้องกัน ปราบปราม บำบัด
จึงจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและขจัด ยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ปัจจุบันโรงเรียนบ้านปะแดลางาเป็นโรงเรียนที่ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ แล้ว
ร้อยละ ๑๐๐แต่จากการสอบถามและสัมภาษณ์นักเรียนและผู้ปกครอง ยังพบว่าสมาชิกในครอบครัวของนักเรียน ที่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า มีอยู่ประมาณ ร้อยละ ๕๘และมีสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนที่ยุ่งเกี่ยวกับ ยาเสพติดประเภทอื่นๆ ได้แก่ น้ำกระท่อม, บารากุ, ๔x๑๐๐ ซึ่งกำลังระบาดอย่างหนักในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้และในตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ก็มีการจับกุมและล่อซื้อในหลายๆคดี พบว่ามีผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนประมาณร้อยละ ๒๐บุคคลที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหวยใต้ดิน เล่นการพนันมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๕ ซึ่งเมื่อมองจากปัญหาแล้ว ถึงแม้นในโรงเรียนบ้านปะแดลางาจะปลอดจากอบายมุขต่าง ๆ ร้อยละ ๑๐๐ แต่ทางโรงเรียนก็เป็นกังวลกับสภาพในครอบครัวของนักเรียนและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ ทางโรงเรียนจึงต้องมีนโยบาย โครงการ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้คนรอบๆ ตัวนักเรียนลด ละ เลิกยาเสพติดและอบายมุขให้มากที่สุด เพราะทางโรงเรียนเล็งเห็นว่าการที่สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนดี นักเรียนที่อาศัยอยูก็จะดีด้วยเป็นสัจธรรม ปัญหาของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนนั้นสำคัญมาก เพราะหากปัญหาของ การแพร่ระบาดยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ยังคงมีอยู่ นักเรียนหรือบุคลากรในโรงเรียนที่มีความเข้มแข็งในจิตใจอยู่น้อยอาจพลาดพลั้งเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสักวัน หรือก่อให้เกิดผลต่างๆ ดังนี้ ๑). นักเรียนจะมีสภาพชีวิตที่ไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดโรค มีความวิตกกังวล ขาดแคลนเงินใช้จ่ายในครอบครัว ก่อเกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การไม่ได้เรียนต่อ ไม่มีอาชีพ และเกิดวังวนของการมั่วสุมกับอบายมุขต่างๆ ในอนาคตได้ ๒). โรงเรียนมีความกังวลและต้องหาแนวทางในการป้องกัน เฝ้าระวังไม่ให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขต่างๆ เพิ่มภาระงานให้กับการจัดการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอาจตกต่ำลง เพราะปัญหาครอบครัว ๓). ครอบครัวของนักเรียนมีความยากลำบากในการครองชีพ เพราะสมาชิกในบ้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในทางที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น อาจเกิดโรคและต้องเสียค่าดูแลสุขภาพ เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกัน การแยกทางกันของพ่อแม่จะทำให้กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา ๔). ชุมชนมีปัญหายาเสพติดและอบายมุขจะทำให้ชุมชนนั้นๆ
ไม่เกิดการพัฒนา ไร้ความเจริญ ขาดการศึกษา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตต่ำลง และเกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ
ในชุมชนได้ จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน นับว่ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ในกลุ่มเด็กที่ขาดความรู้ในเรื่องของยาเสพติดและสารเสพติดก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้นเด็กและเยาวชนจึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ ให้ความรู้เป็นเกราะป้องกันตัว และสร้างภูมิคุ้มกันในชีวิตเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งปวง ทางโรงเรียนบ้านปะแดลางา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดประสบการณ์ ให้ความรู้ และสนับสนุนให้นักเรียนได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการเรียนรู้ที่โรงเรียน หรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับยาเสพติด ส่งต่อไปยังครอบครัว ชุมชน เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและร่วมกันต่อต้านยาเสพติดและอบายมุขทั้งหลายอีกด้วย โดยบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่ปรึกษา ภาคีเครือข่าย และนักเรียนที่เป็นแกนนำเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้คำปรึกษา ตักเตือน คอยกระตุ้น ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันควบคู่ด้วยคุณธรรมไม่ฝักใฝ่อบายมุขและสร้างปัญหาให้กับสังคม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปมีเป้าหมายเพื่อให้ครูที่ปรึกษา ภาคีเครือข่าย และนักเรียนที่เป็นแกนนำเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้คำปรึกษา ตักเตือน คอยกระตุ้น ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันควบคู่ด้วยคุณธรรมไม่ฝักใฝ่อบายมุขและสร้างปัญหาให้กับสังคม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

1.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา(1 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 5,300.00            
2 กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด(1 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 4,500.00            
3 กิจกรรมสร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs(1 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) 200.00            
รวม 10,000.00
1 กิจกรรมค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 152 5,300.00 0 0.00 5,300.00
25 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ 152 5,300.00 - -
2 กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 152 4,500.00 0 0.00 4,500.00
25 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 สร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด 152 4,500.00 - -
3 กิจกรรมสร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 152 200.00 0 0.00 200.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 สร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs 152 200.00 - -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00 10,000.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมค่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา 0 5,300.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสร้างสื่อการเรียนรู้ต่อต้านยาเสพติด 0 4,500.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสร้าง Content คลิป Padaelanga Anti-Drugs 0 200.00 - -
รวมทั้งสิ้น 456 20,000.00 0 0.00 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2568 10:40 น.