กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขในนักเรียนประถมศึกษา ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

โรงเรียนวัดตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 มีฟันแท้ผุ

 

25.00

ฟันแท้ซี่แรกของมนุษย์จะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และเด็กอายุ 12 ปีควรมีฟันแท้ครบ 28 ซี่ (ยกเว้นฟันกรามซี่ที่สาม) ดังนั้นช่วงวัยประถมศึกษา จึงเป็นช่วงสำคัญที่ต้องดูแลและป้องกันฟันแท้ให้แข็งแรง เนื่องจากฟันแท้ที่ขึ้นมาแล้วจะต้องใช้ไปตลอดชีวิต หากเกิดการผุและไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการลุกลามและอาจสูญเสียฟันได้ในที่สุด จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน พบว่าจากนักเรียนทั้งหมด 28 คน มีนักเรียนที่มีฟันแท้ผุจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันแท้ตั้งแต่อายุยังน้อย อันจะส่งผลกระทบต่อการบดเคี้ยวอาหาร สุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตในระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยมุ่งเน้นทั้งการรักษา การป้องกัน และการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดฟันแท้ผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ลดอัตราการเกิดฟันแท้ผุ

25.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/05/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง / การแปรงฟัน ที่ถูกวิธีและมอบอุปกรณ์ การแปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง / การแปรงฟัน ที่ถูกวิธีและมอบอุปกรณ์ การแปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนกลุ่มเป้าหมายโดยทันตบุคลากร 2.บันทึกข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปากรายบุคคล 3.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่นักเรียน 4.สาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี 5.มอบชุดอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน (แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ) งบประมาณ - อุปกรณ์สาธิตการแปรงฟันจำนวน 200 ชุดๆ 50บาท เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรเป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน11,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ 90
2.อัตราการการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้เด็กกลุ่มอายุ 12 ปีไม่เกินร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อัตราการการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้เด็กกลุ่มอายุ 12 ปีไม่เกินร้อยละ 20


>