กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม

รพ.สต.เนินงาม

รพ.สต.เนินงาม

ตำบลเนินงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ การรับรู้ อารมณ์ พฤติกรรม และการตัดสินใจ ในบางรายหากมีอารมณ์แปรปรวนอาจมีการทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ ผู้ป่วยโรคจิตเภทเมื่อเจ็บป่วยในระยะเริ่มแรกไม่สามารถควบคุมอารมณ์และดูแลตนเองได้ เกือบทุกคนต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากคนอื่น และหลังจากอาการทางจิตดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 ต้องได้รับการดูแลจากญาติ และร้อยละ 50 มีการกำเริบซ้ำภายใน 1 ปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายๆด้านเป็นตัวกระตุ้น เช่น ด้านตัวผู้ป่วย ด้านครอบครัวและด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องให้ญาติเป็นผู้ดูแลเกือบตลอดชีวิต จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ญาติผู้ดูแล รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง เครียด รังเกียจผู้ป่วย บางครั้งใช้อารมณ์รุนแรงในการดูแล และในที่สุดทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ตามลำพัง หรือไล่ผู้ป่วยออกจากบ้านจนกลายเป็นคนเร่ร่อน ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการทางจิตกำเริบและสร้างความเดือดร้อนให้สังคม
จากทะเบียนผู้ป่วยโรคจิตเวชของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินงาม ตั้งแต่ปี 2558 – 2565 จำนวน 80 ราย มีญาติดูแลจริง จำนวน 10 ราย คนที่มีพฤติกรรมเฝ้าระวัง จำนวน 15 ราย คนที่มีอาการทางจิตกำเริบพร้อม อาละวาด จำนวน 5 ราย ซึ่งที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบงานให้การดูแลโดยการให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภท แก่ผู้ป่วยและญาติ มีการติดตามเยี่ยมบ้าน และการบริหารยาให้ผู้ป่วยสะดวกในการรับประทานยา โดยการรับยาจากโรงพยาบาลรามัน แล้วให้บริการผู้ป่วย เพื่อความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติในการรับยาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบว่าญาติผู้ดูแล ยังมีความเครียด เบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายอยากให้หน่วยงานรัฐนำผู้ป่วยไปดูแลต่อ และทอดทิ้งผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง สำหรับตัวผู้ป่วยเองก็เบื่อหน่ายในการรับประทานยาตลอดชีวิต รู้สึกอับอายไม่อยากให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทไม่อยากรับยา
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินงาม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2567 เพื่อให้ญาติผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ลดการใช้อารมณ์ที่รุนแรงในการดูแล สามารถสังเกตอาการเตือนก่อนอาการกำเริบได้และสามารถดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบได้สำหรับตัวผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชในการดูแลตนเอง

 

0.00
2 2เพื่อเพิ่มศักยภาพญาติในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

 

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชและญาติสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในครอบครัวได้อย่างปกติสุข

 

0.00
4 4.เพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ประสานวิทยาการในการให้ความรู้ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ประสานวิทยาการในการให้ความรู้ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4) 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ประสานวิทยาการในการให้ความรู้ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 4. ดำเนินโครงการ 4.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวชและการดูแลรักษา 4.2 ให้ความรู้อาการเตือนก่อนอาการกำเริบ การดูแลเบื้องต้น และการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 จัดกิจกรรมการดูแลกันและกันระหว่างญาติและผู้ป่วยโรคจิตเวช 4.4 ฝึกวิธีผ่อนคลายความเครียดสำหรับตนเอง 4.5 การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้จิตเวชและญาติผู้ดูแล 4.6 แลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วย 5. ทุกๆ กิจกรรมแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน รวมเป็น 100 คน -รุ่นที่ 1 ผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 50 คน
-รุ่นที่ 2 ผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 50 คน 6. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ กำหนดไว้ตามโครงการ 7. สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชา 1. กิจกรรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2568 1.1 ค่าวิทยากรบรรยายในการฝึกอบรม
-จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 2 รุ่น เป็นเงิน 6,000บาท 1.2 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม มื้อละ 35 บาท 2 มื้อ
จำนวน 100 คนเป็นเงิน 7,000บาท 1.3 ค่าอาหารกลางวัน -อาหารกลางวัน มื้อละ 70 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท รวมทั้งสิ้น 20,000 บาท
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามารถนำมาถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
2.ผู้ป่วยจิตเวชไม่มีอาการกำเริบ ก้าวร้าว อาละวาด
3.ญาติสามารถดูแลจัดการเบื้องต้นได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบ และมีแนวทางในการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น


>