โครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4160-01-008 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.เนินงาม |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 29 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฟารีดา สนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอาวาตี เละหนิ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ การรับรู้ อารมณ์ พฤติกรรม และการตัดสินใจ ในบางรายหากมีอารมณ์แปรปรวนอาจมีการทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ ผู้ป่วยโรคจิตเภทเมื่อเจ็บป่วยในระยะเริ่มแรกไม่สามารถควบคุมอารมณ์และดูแลตนเองได้ เกือบทุกคนต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากคนอื่น และหลังจากอาการทางจิตดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 ต้องได้รับการดูแลจากญาติ และร้อยละ 50 มีการกำเริบซ้ำภายใน 1 ปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายๆด้านเป็นตัวกระตุ้น เช่น ด้านตัวผู้ป่วย ด้านครอบครัวและด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องให้ญาติเป็นผู้ดูแลเกือบตลอดชีวิต จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ญาติผู้ดูแล รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง เครียด รังเกียจผู้ป่วย บางครั้งใช้อารมณ์รุนแรงในการดูแล และในที่สุดทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ตามลำพัง หรือไล่ผู้ป่วยออกจากบ้านจนกลายเป็นคนเร่ร่อน ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการทางจิตกำเริบและสร้างความเดือดร้อนให้สังคม จากทะเบียนผู้ป่วยโรคจิตเวชของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินงาม ตั้งแต่ปี 2558 – 2565 จำนวน 80 ราย มีญาติดูแลจริง จำนวน 10 ราย คนที่มีพฤติกรรมเฝ้าระวัง จำนวน 15 ราย คนที่มีอาการทางจิตกำเริบพร้อม อาละวาด จำนวน 5 ราย ซึ่งที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบงานให้การดูแลโดยการให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภท แก่ผู้ป่วยและญาติ มีการติดตามเยี่ยมบ้าน และการบริหารยาให้ผู้ป่วยสะดวกในการรับประทานยา โดยการรับยาจากโรงพยาบาลรามัน แล้วให้บริการผู้ป่วย เพื่อความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติในการรับยาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบว่าญาติผู้ดูแล ยังมีความเครียด เบื่อหน่ายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายอยากให้หน่วยงานรัฐนำผู้ป่วยไปดูแลต่อ และทอดทิ้งผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง สำหรับตัวผู้ป่วยเองก็เบื่อหน่ายในการรับประทานยาตลอดชีวิต รู้สึกอับอายไม่อยากให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทไม่อยากรับยา ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินงาม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกันระหว่างญาติและผู้ป่วย ปี 2567 เพื่อให้ญาติผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ลดการใช้อารมณ์ที่รุนแรงในการดูแล สามารถสังเกตอาการเตือนก่อนอาการกำเริบได้และสามารถดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบได้สำหรับตัวผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชในการดูแลตนเอง
|
0.00 | |
2 | 2เพื่อเพิ่มศักยภาพญาติในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
|
0.00 | |
3 | 3.เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชและญาติสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในครอบครัวได้อย่างปกติสุข
|
0.00 | |
4 | 4.เพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 29 ก.ย. 68 | วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ประสานวิทยาการในการให้ความรู้ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ | 100 | 20,000.00 | - | ||
รวม | 100 | 20,000.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข 2.ผู้ป่วยจิตเวชไม่มีอาการกำเริบ ก้าวร้าว อาละวาด 3.ญาติสามารถดูแลจัดการเบื้องต้นได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบ และมีแนวทางในการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2568 00:00 น.